การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กรศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนขยาย 2.เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการดำบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลสำหรับโรงเรียนขยายโอกาส จากผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 337 คน ตามตารางของเครซี่ และมอร์แกนเครื่องมือคือแบบสอบถาม โดยได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน คือ 0.22-0.54 และค่าความเชื่อมั่นคือ 0.92 สภาพที่พึงประสงค์ คือ
0.23-0.58 และค่าความเชื่อมั่นคือ 0.92 ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนขยายโอกาส โดยนักวิชาที่มีความรู้เรื่องธรรมาภิบาลในสถานศึกษา จำนวน 8 คน จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นพัฒนาแนวทางเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการบริหารทั่วไปและด้านการบริหารงบประมาณ 2) แนวทางการพัฒนาคือ การนำหลักคุณธรรมมาใช้ในการบริหารงาน วิชาการโดยผู้บริหารส่งเสริมให้ครูผู้นำหน่วยการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่ห้องเรียนนำหลักนิติธรรมมาใช้ในการบริหารงานบุคคลโดยสถานศึกษาควรจัดทำฐานข้อมูลความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญของบุคลากรให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมการประพฤติปฏิบัติ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การนำหลักความคุ้มค่ามาใช้ในการบริหารงานทั่วไปโดยสถานศึกษาควรตรวจสอบอาคาร สถานที่ เพื่อรองรับการใช้งาน และนำหลักความรับผิดชอบมาใช้ในการบริหารงานงบประมาณ โดยผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมความรับผิดชอบการปฏิบัติงานการเงินในสถานศึกษาโดยความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางอยู่ในระดับ มาก
Downloads
Article Details
References
กมลวรรณ ศรีม่วง. (2560) การบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ. วิทยสนิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
กิตติภูมิ สมศรี. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
ฉัตรมงคล สูงเนิน. (2561). แนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาใน จังหวัดนครสวรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. วิทยานิพนธ์ ค.ม.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครวรรค์.
ฐิติรัตน์ เอี่ยมสกุล. (2555). พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรีบังอร สิมพันธ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์
ปริญญา สัญพึ่ง. (2553). การศึกษาการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ประกาศเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). (2559, 30 ธันวาคม)ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 ตอนที่ 115 ก. หน้า 1.
เปรมมิกา อ่อนธานี. (2559). แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2.
วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (2542, 19 สิงหาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ รก.2542 ตอนที่ 74ก. หน้า 1.
ภัคนิดา หนองเรือง. (2558). รูปแบบการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน) ราชกิจานุเบกษา เล่มที่134 ตอนที่ 40ก. หน้า 1.
สุเทพ ทิมนาม. (2553), ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรในสถาน ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม.มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, ราชบุรี.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติทางการบริหารและพัฒนาการศึกษา.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (2564). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พ.ศ. 2561-2564.มปท: มปป. จาก www.kkn5.go.th
Clarke and Vicki Clinell Burge. (2001). Unit Search of Good Governance: Decentralization
and Democracy in Ghana. Illinois: Northem Illinois University.