การพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 โดยสังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีของนักวิชาการได้องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 6 ด้าน ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม การคิดอย่างเป็นระบบ บุคคลรอบรู้ รูปแบบทางความคิด การนำเทคโนโลยีมาใช้ และการพัฒนาการทำงานเป็นทีมการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สำรวจสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การ พัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 341 คน ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 ปีการ ศึกษา 2563 เครื่องมือคือแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ระยะที่ 2 สัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 2 ท่าน เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์สร้างแนวทางการพัฒนาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 เรียงตามความต้องการจำเป็นและความต้องการพัฒนาได้ดังนี้ 1) ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ 6 แนวทาง 2) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ 6 แนวทาง 3) ด้าน รูปแบบทางความคิด 6 แนวทาง 4) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม 5 แนวทาง 5) ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ 6 แนวทาง และ 7) ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของทีม 5 แนวทาง
Downloads
Article Details
References
จิรประภา อัครบวร. (2554). พัฒนาคน บนความยั่งยืน กรุงเทพฯ: เต้า (2000).
ฐิติพร พิบูลย์วงศ์. (2559). แนวทางการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของธนาคารออมสินภาค 14.งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤมล จันทร์สุข. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย.
นิชนันทร์ บุญสา. (2557). สภาพองค์การแห่งการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหา บัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมัชฌา ปารัคมาตย์. (2557). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรและองค์กรแห่งการเรียนรู้ส่งผลต่อคุณภาพ ชีวิตที่ดีของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา ธนาคาร A สำนักงานใหญ่ (บางเขน). การค้นคว้า อิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
เสาวภาคณ์ เชาวนะสิริยธรรม. (2560) การพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนของวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(2), 57-66.
Benett, J.K. & O'Brien, M.J. (1994). The Building Blocks of the Learning Organization.Training, 3(June), 41-49.
Fullan, M. (200 1). Leading in a culture of change. San Francisco: Jossey-Bass.
Fulmer, R.M. & Keys, J.B. (1998). A conversation with Peter Senge: New developments inorganizational learning. Organizational Dynamics, 27(2), 33-42.
Garvin, D.A. (1993). Building a Learning Organization. Harvard Business Review.
Hussein et al. (2016). Learning Organization Culture, Organizational Performance andOrganizational Innovativeness. a Public Institution of Higher Education in Malaysia:A Preliminary Study, 5 12-519.
Krejcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educationaland Phychological Measurement, 30, 607-610.
Marquardt, M.J. & Reynolds, A. (1994). 1995. Building The Global Learning Organization.New York.
Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement & Global Success. New York: McGraw-Hill,Marsick, V. & Watkins, K. (2003). Demonstrating the Value of an Organization's Learning
Culture: The Dimensions of the Learning Organization Questionnaire. Advances in Developing Human Resources, 5, 133.
Senge, P. (1990). The Fifth Disciplines: The Art and Practice of the Learning Organization.
New York: Bantam Doubleday Dell Publishing Group, Inc.