ทักษะการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Main Article Content

อนวัช ไข่ขาว
ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ประชากร คือครูผู้ช่วยโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 358 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 คน และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน จากนั้นนำมาเทียบสัดส่วนบัญญัติไตรยางค์ โดยระบุให้ครูผู้ช่วย 1 คน มี ครูพี่เลี้ยง 1 คน รวม 376 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการนิเทศของครูพี่เลี้ยง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุดคือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.59 ส่วนการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยโรงเรียน มัธยมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การปฏิบัติงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการใช้ภาษาและเทคโนโลยีมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.43 ทักษะของครูพี่เลี้ยงในภาพรวมทั้ง 5 ทักษะสามารถอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนการสอนได้ร้อยละ 8.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R'=.088, p=.031) โดยทักษะด้านความเป็นผู้นำมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (B-.036, p=.003)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2558). มนุษยสัมพันธ์ทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคระ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). ครูไทยกับ ICT. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการของ คุรุสภา ประจำ ปี 2556 เรื่องการวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556), ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ และมารุต ทรรศนากรกุล. (2562). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร.

สิทธิกร สัมพันธ์กาญจน์. (2559). แนวทางการนิเทศการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหา บัณฑิต, สาขานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ หลิมเล็ก. (2558). ทักษะการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2561). หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษาสภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อุราภรณ์ คูนาเอก. (2554). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Wiles, Kimball. (1967). Supervision for Better Schools. 3 ed. ; Englewood Cliffs,New Jersey: Prentice Hall.

Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introductive Analysis. (3 ed.). New York. Harperand Row.