การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3

Main Article Content

จรุงศักดิ์ รักษาเคน
สินธะวา คามดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 และ 2) ออกแบบและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 การดำเนินการวิจัยมีลักษณะเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 จำนวน 292 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การออกแบบและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูต้นแบบด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของครู จำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า


1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ในสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู ด้านการเป็นแบบอย่างด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ตามลำดับ


2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) วิธีดำเนินการพัฒนา ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการปฏิบัติงานจริง โดยจัดกิจกรรมตามหลักการพัฒนาแบบ 70:20:10 4) เนื้อหากิจกรรม แบ่งออกเป็น 6 Module ได้แก่ Module 1 การพัฒนาหลักสูตร Module 2 การพัฒนาตัวเองและเพื่อนครู Module 3 การเป็นแบบอย่างด้านการจัดการเรียนรู้ Module 4 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา Module 5 การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา และ Module 6 การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน 5) การวัดและประเมินผล การประเมินความรู้ ความเข้าใจ ก่อน – หลังการพัฒนา การประเมินความสามารถภาวะผู้นำทางวิชาการของครู และประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการพัฒนา ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งสองรายการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2547. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญาพัชร คำสะอาด. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิสาลักษณ์ จันทร์อร่าม. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุหงา วัฒนะ. (2546). Active Learning. วารสารวิชาการ, 10(9), 30–34.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2557). สัตตสิกขาทัศน์เจ็ดมุมมองการศึกษาใหม่และการเรียนการสอนนอกกรอบ 7 ประการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วันทนา จําปาศรี. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. สงขลา: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). ผู้บริหารโรงเรียน: สามมิติการพัฒนาวิชาชีพสู่ความเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสิทธ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563 – 2565 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565). มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิปปนนท์ เกตุทัต. (2541). แนวคิดเกี่ยวกับทิศทางและนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย. วารสารวิชาการ, 5 (พฤษภาคม), 2-15.

Cambone, W. and Wyeth, A. (1992). Trouble in Paradise: Teacher Conflicts in Shared Decision-Making. Educational Administration Quarterly, 28, 350-367.