สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษาในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

วัชรี ศรีทอง
ไพฑูรย์ พวงยอด
ชาญวิทย์ หาญรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ (2) ประเมินความต้องการจำเป็น และ (3) พัฒนาแนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู รวมจำนวน 313 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .47-.85 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .58-.89


และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .98 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างมีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อมีค่าเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เรียงจากค่าสูงสุดไปค่าต่ำสุด คือ ด้านงบประมาณ รองลงมา ด้านวัสดุอุปกรณ์สิ่งปลูกสร้างและแหล่งเรียนรู้ ค่าต่ำสุด คือ ด้านบุคคลและการมีส่วนร่วม และ (3) แนวทางพัฒนาการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ผลการประเมินแนวทางพัฒนา โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จันทิมา อัชชะสวัสดิ์. (2556). การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณรงค์ฤทธิ์ ประทุมชัย. (2564). แนวทางการพัฒนาการระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เบญจาภา เบญจธรรมธร. (2562). “การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3,” วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 6(2) : 47-66.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2564). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3). กรุงเทพ ฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

พรเทพ โพธิ์พันธุ์. (2563). แนวปฏิบัติที่ดีในการระดมทุนเพื่อการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรเทพ โพธิ์พันธุ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการระดมทุนเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิณสุดา สิริธรังศรี, สรรเสริญ สุวรรณ์, พัชราภา ตันติชูเวช และ ประสพสุข ฤทธิเดช. (2562).

รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

--------. 2562. การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. สุทธิปริทัศน์. 33(106) : 1-16.

พิสิษฐ ภู่รอด. (2559). รูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐ. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาณุพงศ์ หล้าแหล้. (2564). “การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6,” วารสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ภาณุมาศ เฉลยนาค. (2556). “การนำเสนอกลยุทธ์การแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2,” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 4(3) : กันยายน-ธันวาคม.

สติวณิตย์ เชยชัยภูมิ. (2564). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็ก. กรุงเทพ ฯ : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (2565). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. มุกดาหาร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). ทรัพยากรเพื่อการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อัมพร พรมมี. (2564). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด. กรุงเทพ ฯ : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Usman, Yunusa Dangara. (2016). “Accountability in Education: An Imperative for Service Delivery in Nigerian School Systems,” Akwanga Journal of Education and Research (AJER). 1(1).