สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

อัษวนนท์ ชัยบิน
วัชรี แซงบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของความ สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบึงกาฬ


3) เพื่อพัฒนาแนวทางพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด บึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล ครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานความสัมพันธ์ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษารวมทั้งสิ้น 210 คน กำหนดหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ (บุญชม ศรีสะอาด. 2553: 40) ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 4 ฉบับคือ 1) แบบสอบถามตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นข้อมูลตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.25-0.59 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบึงกาฬ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.27-0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบึงกาฬ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านบริการชุมชน 3) แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน พบว่า มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชัยบิน อ., & แซงบุญเรือง ว. (2024). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 12(2), 168–180. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/199
บท
Research Article

References

เกรียงไกร สุพรรณ และคณะ. (2561). รูปแบบการบริหารการประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา เอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. (มกราคม-มิถุนายน 2561)

ขวัญใจ พุ้มโอ. (2562). รูปแบบการบริหารงานเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยานอร์ทกรุงเทพ.

ชนกพร มนัส. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปทุมธานี.

วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. วารสารฉบับ ภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ; ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2560.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ เผยกลิ่น (2555). รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ปราโมช ยังภู่ (2557). สิทธิและบทบาทชุมชนในการบริหารจัดการงานท้องถิ่นในเขตจังหวัดราชบุรีวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการด จัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และคณะ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในประเทศไทยเอกสารการสอนชุดวิชาโรงเรียนกับชุมชน หน่วยที่ 17. พิมพ์ครั้งที่ 14. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พนิจดา วีระชาติ. (2542). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วริศรา สุขสุวรรณ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิภาณี แม้นอินทร์. (2559). มวลชนสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศุภรัตน์ ปุ้งข้อ. (2557). สภาพการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในกลุ่มเครือข่ายเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.

สมพงษ์ ศรีมหาไชย. (2556). ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนวัดโสภณกับโรงเรียนบ้านมาบตาพุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี,แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12, และการปฏิรูปเทศ. กรุงเทพฯ. สืบค้น15 มีนาคม 2563, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). สรุปบทเรียนที่ดีของการดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักงาน.

ก.พ.ร. สำนักวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภา เหล่าตระกลู สวัสดิ์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนตามความคิดเห็นของผู้ปกครองโรงเรียนเมืองพัทยา 1 สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี.

งานนิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัชราพร สังยวน, (2558), การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนากองทุนหลักประกัน สุขภาพเทศบาลตำบลกุดสิม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ สกลนคระมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Stoops, E., & Rafferty, M.L. (1961). Practice andtrends in schooladministration. New York:Ginn.