แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต ปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความ ต้องการจำเป็นของการมีภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลนครรังสิตปทุมธานี (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูสังกัดเทศบาลนครรังสิต จำนวน 150 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ได้ขนาดตัวอย่าง 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการมีภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21
มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.600-1.000 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.973 ส่วนแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการมีภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.600-1.000 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.982 และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ (Percentile) ค่าเฉลี่ย (Means) ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PN
modified
ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการมีภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต ปทุมธานี ภาพรวม สภาพ ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต ปทุมธานี ภาพรวม พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำใน ยุคศตวรรษที่ 21 ลำดับที่ 1 ด้านความคิดสร้างสรรค์/นวัตกรรม ลำดับที่ 2 ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี/ ดิจิทัลและการสื่อสาร ลำดับที่ 3ด้านความร่วมมือ ลำดับที่ 4 ด้านการมีวิสัยทัศน์ ลำดับที่ 5 ด้านความ
มั่นใจและกล้าหาญ ลำดับที่ 6 ด้านทักษะสังคม และลำดับที่ 7 ด้านการเสริมพลังอำนาจ/จูงใจ และ
(2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย 7 ด้าน 18 คุณลักษณะ และ 39 แนวทางการพัฒนา
Downloads
Article Details
References
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
แห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563,
an https://www.nesdc.go.th/ewt_d/_link.php?nid=6422
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์.
มิดท์ อีริค, และโคเฮน เจเรด. (2014). ดิจิทัลเปลี่ยนโลก. แปลจาก The New Ditital Age โดย สุทธวิชญ์ แสงศาสดา. กรุงเทพฯ: โพสต์บุ๊กส์
ธัญวิทย์ ศรีจันทร์ และคณะ. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2), 139-156.
พิชญา ดำนิล. (2558). ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียนเครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา OIED, 10(1), 240-248.
เพ็ญสุดา ฤทธิมนตรี และวิเชียร รู้ยืนยง. (2562). กลยุทธิ์การเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยของแก่น, 6(4), 83-96.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:วิทยาลัย ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
โยธิน นิลคช. (2561). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ "GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018".
รัตนา เหลืองาม. (2562), ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ค.ม. (บริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
วิจารย์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี สฤษดิวงศ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนการทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
วิโรจน์ สารรัตน์ และคณะ. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 261-271.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563, จาก http://www.yst2.go.th/web/w-content/uploads/2019/09/OBEGpolicy-2563.pdf.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อัลวิน ทอฟฟเลอร์. (2538). คลื่นลูกที่สาม แปลจาก The Third Wave โดย สุกัญญา ตีระวนิช และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์