การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ 2) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยนี้ดำเนินการ วิจัยเป็น 2 ระยะ
ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่ม ตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 504 คน ซึ่งได้มาจากการเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan โดย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค Modified Priority Needs Index
(PNI
modiad) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีระดับความต้องการมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านการวัดและประเมินผล ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมากทุกด้านระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่เป็นเลิศ (Best Practices) 2 แห่งด้วยแบบสัมภาษณ์ ประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และผู้ใช้โปรแกรม จำนวน 5คนซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ มีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ
2) วัตถุประสงค์ 3) โครงสร้างหลักสูตร 4) เนื้อหา 5) วิธี 6) อุปกรณ์/วัสดุ 7) การประเมินผล และผู้ใช้โปรแกรมจำนวน 5 คนมีความเห็นว่าโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด (X-4.76) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.78)
Downloads
Article Details
References
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ (2561). รายงานผลการทดสอบระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2560. (ม.ป.ท.)
กาญจนา จันทะโยธา. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ชัยนาท พลอยบุตร และลักขณา สริวัฒน์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริม สร้างสมรรถนะครู การ พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(ฉบับพิเศษ), 256-273.
วรนิษฐา เลขนอก. (2560). โปรแกรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2551). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 2 (พ.ศ.2549-2553). กรุงเทพฯ: สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รายงาน " การสังเคราะห์รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูต้นแบบ " สรุปรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: บริษัท แคนดิด มีเดีย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทยมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนนโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา). กรุงเทพฯ: 21เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์ (2563). รายงานผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2562. (ม.ป.ท.)
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรบนพื้นฐาน 70: 20: 10 Learning Model. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Angele Attard, Emma Di loio, K.G. & R.S. (20 10). Student Centered Learning An Insight Into Theory And Practice. Bucharest: Partos Timisoara.
Sharma, S.C.V.S. (2020). Teacher Development and Sustainable Education System.
International Journal of All Research Education and Scientific Methods
(JARESM), 10(8), 492-495.
Zeynep Arseven, seyma sahin & A.K. (2016). Teachers' Adoptation Level of Student Centered Education Approach. Journal of Education and Practice, 29(7), 133-144.