การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบอินโฟกราฟิก เรื่อง การออกแบบสาร สำหรับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ก่อเกียรติ ขวัญสกุล
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบอินโฟกราฟิก เรื่อง การออกแบบสาร 2. ศึกษาประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผล และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบอินโฟกราฟิก เรื่อง การออกแบบสาร  แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์การเรียนรู้ และแบบสำรวจความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพโดยใช้ E1/E2 (80/80) และ ค่าดัชนีประสิทธิผล โดยใช้ EI  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 26 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)         


ผลการศึกษา  สรุปผลดังนี้                                         


1.ได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบอินโฟกราฟิกเรื่อง การออกแบบสารที่ประกอบด้วยเนื้อหา 6 หน่วยการเรียน แต่ละหน่วยนำเสนอเนื้อหาแบบอินโฟกราฟิก และได้รับการประเมินคุณภาพมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (gif.latex?\dot{\bar{x}}=4.46,  S.D.=0.31)             


2.การทดสอบประสิทธิภาพ มีค่าเท่ากับ 81.60/82.77 และ มีค่าดัชนีประสิทธิผล ร้อยละ 78.70


3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.51,  S.D.=0.51)         


                

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ก่อเกียรติ ขวัญสกุล. (2562). การผลิตและออกแบบสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา. อภิชาติการพิมพ์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-25. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/ 28419

ซารีป๊ะ รักดี (2562) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบ 2W3P โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุด A little Guide เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2(5), 42-48. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/242357

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.

ประโยชน์ของอีบุ๊คบน Online Platform ที่นักอ่านออนไลน์ควรรู้!. (2563, 25 ธันวาคม). มติชน ออนไลน์. https://www.matichon.co.th/publicize/news_2500939

เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) วารสารการ วัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8, 30-36. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/154725

พัทน์ ภัทรนุธาพร. (2556, 22 กรกฏาคม). ว่าด้วยอินโฟกราฟิก. http://www.slideshare.net/patpataranutaporn/infographic-23318901

พีรยา กิตติ์วรกุล. (2562) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลตำบลงิม (คือเวียงจ่ำ). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2(6), 145-157. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/242334

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556, 10 กุมภาพันธ์). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book). สำนักพิมพ์ สำนักบริหารและพัฒนา วิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. https://maejopress2.mju.ac.th/wtms_newsDetail.aspx?nID=5140&lang=th-TH

มารุดิศ วชิรโกเมน และมณฑล วชิรโกเมน. (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การ ออกแบบด้วย Photoshop สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม], http://research.rmu.ac.th/rdi-mis//upload/fullreport/1632636323.pdf

สมิหลา นพภาลัย. และ กรวิภา สรรพกิจจำนง. (2565). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงาน อาชีพ เรื่อง การเลือกซื้ออาหารและหลักการประกอบอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) กับการสอนแบบปกติ. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 5(14), 72-80. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/252406

สุวรรณา ใจกล้า. และจตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2562). การพัฒนาชุดเครื่องมือประเมินทักษะการเรียนร้และนวัตกรรม ู ตามแนวคิดการประเมินที่ใช้การปฏิบัติเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, การประชุม วิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20. 1707-1718, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เหตุผลที่ครูควรเปิดใจให้ e-Book. (ม.ป.ป.) Aksorn. https://www.aksorn.com/ac1-5-reasons-for-ebook-classrooms