โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ การวิจัย นี้ดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีค่า ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.60-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.89-0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการจัดการข้อมูลสารสนเทศ ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการ ศึกษาพิเศษ พบว่า โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการ ศึกษาพิเศษ มีองค์ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ซึ่งประกอบด้วย
5 Module ได้แก่ 3.1) Module 1 ความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ 3.2) Module 2 การค้นหา ข้อมูลสารสนเทศ 3.3) Module 3 การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3.4) Module 4 การจัดการข้อมูลสารสนเทศ 3.5) Module 5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ 4) วิธีดำเนินการประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การสอนงาน การพัฒนาโดยกระบวนการปฏิบัติงาน
5) การประเมินโปรแกรม ประกอบด้วยการประเมิน 3 ระยะ ระยะที่ 1 การประเมินก่อนการพัฒนาระยะที่ 2 การประเมินระหว่างการพัฒนา และระยะที่ 3 การประเมินหลังการพัฒนา และการประเมินความพึงพอใจ โดยผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า โปรแกรมมีความเหมาะสมในระดับมาก และมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2550), นโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.
จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดขอนแก่น
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคามชฎาพร จิตศิลป์. (2559). เทคโนโลยี. [ออนไลน์]. ได้จาก [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560].
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). Competency การประเมินประจำปี. กรุงเทพฯ: เอชอาร์
เซ็นเตอร์ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2550). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้อนาคต.[ออนไลน์]. ได้จาก http: // sornorinno.blogspot.com/2010/09/c-cteacher.html. [สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2560].
มะยุรี สุริสาย. (2559) การพัฒนาครูด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กาฬสินธุ์: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.
ลัดดา บุญมาวรรณ. (2554). ครูกับเทคโนโลยี, [ออนไลน์]. <http://wwww.I3nr.org/posts/ 331881>
[สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2560].
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2521). การบริหารการศึกษา หลักการและวิวัฒนาการของทฤษฎีทางการบริหารหน้าที่ทางการบริหาร ประเด็นทางการบริหาร ข้อเสนอกรอบแนวคิดเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:พิมพ์พิสุทธิ์.
ศราวุธ แจ้งสุข. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการใช้ไอซีที่ของครูกลุ่มโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 4(1), 74-86.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553), คู่มือประเมินสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2553). ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์].
สุชาติ ทิพวงค์. (2551). การพัฒนาบุคลากรในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐานอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษา ค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อ่องจิต เมธยะประภาส. (2557). ลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21, [ออนไลน์}. [สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2560].
อุบลรัตน์ หริณวรรณ. (2557). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาของครู. วารสารวิชาการ ศึกษาศาสตร์, 15(2), 147-155.
Bruce, C. (1997). The Seven Faces of Information Literacy. Adelaide, SA: Auslib Press.
Mitrani, A., Dalziel, M. & Fitt, D. (1992). Competency Based Human Resource Management.London: Kogan Page.