คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อ แรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม

Main Article Content

นิรินาม งามวาจา
วัชรี เเซงบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของ ผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล 2) ศึกษาและเปรียบเทียบแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของครู และ


3) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 225 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ (บุญชม ศรีสะอาด. 2553: 40) ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 24.70 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ. 90 2) แบบสอบถามแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงาน ของครู ได้ค่าอำนาจจำแนกราย ข้ออยู่ระหว่าง 26:70 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่(-test dependent samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ


การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ และวิทยฐานะ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 2) แรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ และวิทยฐานะโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ตัวแปรคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ (X4) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (X6) ด้านการเป็น นักส่งเสริมและพัฒนา (X5) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม (X7) และด้านการมีความรู้ความเชี่ยวชาญ (X2) ร่วมกันพยากรณ์แรงบันดาลใจในการปฏิบัติงานของครูได้ร้อยละ 84 R2Adj=.83สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


Y =.49 +.29X4 +.22X6 +.21X5+.19X7 +.16X2


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


I=.30X4+.20 X6+.20X5+.21X7+.18X2

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

นึ่งนิตย์ กิจวิธี (2560). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขา วิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ณปภัช อำพวลิน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของ ผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 30, 287-294.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. (2560-2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี

พระราชวุธ ปัญญาวชิโร, สมปอง ชาสิงห์แก้ว และพระครูสโมธานเขตคณารักษ์. (2562).

การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามหลักสัปปุริสธรรม 7". วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), เมษายนมิถุนายน.

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2552). "Inspiration พลังแห่งลมหายใจไฟในการทำงาน" วารสาร ProductivityWorld, 20, 20-23.

มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2557). รูปแบบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู". วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 20-32; มกราคม.

เมตตา สอนเสนา. (2557). ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรง จูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วีรชาติ กาญจนกัณโห. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสู่ยุดประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศศิรดา แพงไทย. (2559), บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6(1), 10-11.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจรรยา ขาวสกุล, ธีระ รุญเจริญ และวรสิทธิ์ รัตนวราหะ (2560). "ผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล"รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครุศาสตร์วิจัย.(3): 138-148.

สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2553). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคระพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินคุณภาพการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร.

อนงค์นารถ ไชยรา. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Cantwell, J.G.ur. (2003). A study of the relationship of principal leadership, teacher interaction, and school climate on three years of Pennsylvania system of school.

Doctor's Thesis, Widener University.