การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เมวิกา ชอบสูงเนิน
ฐิติวรดา พลเยี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่นการวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (10C)อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.74-0.84 และมีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง


0.93-0.96 ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 9คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่ประสงค์ของการนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการในการนิเทศภายในของสถาบัน พบว่า ด้านการวางแผนและกำหนดทางเลือก รวมทั้งด้านการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ มีความต้องการ พัฒนามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการติดตามและประเมินผลการนิเทศภายในสถาบัน และด้านการปฏิบัติการนิเทศภายในสถาบัน ตามลำดับ

  2. การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) ความมุ่งหมาย 3) แนวทางการ นิเทศภายในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 3.1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 3.2) ด้านการวางแผนและกำหนดทางเลือก 3.3) ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายในสถาบัน

3.4) ด้านการติดตามและประเมินผลการนิเทศ 4) กลไก และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศภายในของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยรวมมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2538). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวง พ.ศ.2539-2550. กรุงเทพฯ;กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์, กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ พิชญ์ชาญ์ สุดทุม. (2559), แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณพร สุขอนันต์. (2550). รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชชุดา หุ่นวิไล. (2542). การบริหารบุคคลทางการศึกษา, กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). การนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2555). มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 เพื่อการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเองหลักสูตรผู้ช่วย ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

สุนีย์ ดอกดวง. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุริยา สุนาอาจ. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill.