การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

Main Article Content

กมลพัฒน์ ไชยสงคราม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการ และศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 จำนวน 17 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 10101227 ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน ดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 24 ชั่วโมงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่า ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ.05 และนักศึกษามีเจตคติต่อการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). วิจัยการเรียนการสอน พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. (2562). รายงานผลการจัดการเรียนการสอนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adams, S.K. (2019). Empowering and motivating undergraduate students through the process of developing publishable research. Frontiers in Psychology, 10, 1007.

Bowen, N., & Van Waes, L. (2020). Exploring revisions in academic text: Closing the gap between process and product approaches in digital writing. Written Communication,37(3), 322-364.

Cameron, L. (2001). Teaching languages to young learners. Cambridge: CambridgeUniversity Press.

Durga, V. S. S., & Rao, C. S. (2018). Developing students' writing skills in English: A process

approach. Journal for Research Scholars and Professionals of English Language Teaching, 2(6), 108.

Febrianita, R., & Hardjati, S. (2019). The power of interpersonal communication skill in enhancing service provision. Journal of Social Science Research, 14, 3192-3 199.

Friis, E., & O' Hair, M.J. (2020). Communication challenges of creating personalized, learner centered instruction. The Handbook of Applied Communication Research, 547-577.

Johnson, K., & Morrow, M. (1982). Communication in the classroom. London: Longman Group.

Murphy, J. (2003). Task-based learning: the interaction between tasks and learners. ELTJournal, 57(4), 352-360.

Raimes, A. (1983). Techniques in teaching writing. New York: Oxford University Press.

Seow, A. (2002). The writing process and process writing. Methodology in Language Teaching: An Anthology of Current Practice, 315-320.

Vandermeulen, N., Leiten, M., & Van Waes, L. (2020). Reporting writing process feedback in

the classroom using keystroke logging data to reflect on writing processes. Journal of Writing Research, 12(1), 109-139.

Varma, J., Prabhakaran, A. N. U.S. H. A., & Singh, S. (20 18). Perceived need and attitudes

towards communication skill training in recently admitted undergraduate medical students. Indian Journal of Medicine Ethics, 3(3), 196-200.