ศาสตราจารย์ ดร. ธีระ รุญเจริญ: ต้นแบบศาสตร์และศิลป์ของครูผู้ให้

Main Article Content

กรองทิพย์ นาควิเชตร
ศรุดา ชัยสุวรรณ
ชุติมา พรหมผุย
กฤตฎา วัฒนศักดิ์
รัตน์ดา เลิศวิชัย
ทินกฤต ชัยสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ ในการเป็นต้นแบบ ศาสตร์และศิลป์ของครูผู้ให้ ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์อดีตลูกศิษย์ของศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญจำนวน 20 คน 2) การจัดประชุมสนทนาอิงผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน 3) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ใกล้ชิดที่มีต่อศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ จำนวน 5คน 4) ศึกษาเชิงยืนยันกับศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึก แบบสัมภาษณ์แบบสอบถามและแบบประเมินที่มีคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ ในการเป็นต้นแบบศาสตร์และศิลป์ของครูผู้ให้ มีดังนี้


  1. การเป็นต้นแบบในการพัฒนาสติปัญญา คือ เป็นผู้ศึกษาเรียนรู้ มีความรอบรู้ รู้ลึกในศาสตร์ทางการศึกษาการบริหารการศึกษาและการวิจัย ผลิตเผยแพร่หลักและทฤษฎีทางการศึกษา มีความเป็น ผู้นำด้านการบริหารการศึกษา ประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาและโน้มน้าวศิษย์และผู้เกี่ยวข้องทั้งในการพัฒนาด้านความรู้ ความคิด ที่ทันสมัย ด้วยวิธีการที่เข้าใจง่าย

  2. การเป็นต้นแบบในการปลูกฝังค่านิยมดีงามและคุณธรรมจริยธรรม คือ เป็นผู้ปฏิบัติตนในฐานะครูและผู้บริหารการศึกษาที่มีคุณธรรมจริยธรรม รักการเรียนรู้ แบ่งปันความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีและ ทันสมัย ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในทุกเรื่อง ทุกที่ ทุกเวลา ให้เกียรติผู้อื่น อุทิศตน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานโดยมุ่งให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย

  3. การเป็นต้นแบบในการเป็นนักคิด นักปฏิบัติ เป็นผู้นำ ชี้แนะ จูงใจ ให้ศิษย์และหรือผู้ร่วมงานสร้างสรรค์ผลงานด้านวิชาการและงานวิจัยทางการศึกษา สร้างแรงบันดาลใจและเสนอแนะให้ผู้ใกล้ชิดได้เรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในแบบกัลยาณมิตร

  4. การเป็นต้นแบบในความทันสมัยในยุคดิจิทัล คือ เป็นผู้ที่ศึกษาค้นคว้าโดยใช้ดิจิตัลเทคโนโลยีด้วยความตื่นตัว สนใจในการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยี นำมาใช้และเสนอแนะให้ผู้อื่นนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานและจัดการเรียนรู้ โดยการพึ่งตนเองเป็นหลัก และเป็นผู้สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาการ

  5. การเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม คือ เป็นผู้มีอารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน พูดเสียงดัง ฟังชัด เป็นมิตร เปิดเผย ใจกว้าง เอื้อเฟื้อ อาสา ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน รับฟังความคิดเห็นและให้อภัยเสมอ เป็นบุคคลสู้ชีวิต มีความเพียร ศึกษาเรียนรู้ มีความภูมิใจในความเป็นไทยและการเป็นพุทธมามกะ ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย พอเพียง พึ่งตนเอง ไม่เอาเปรียบผู้อื่น และหมั่นดูแลรักษา สุขภาพเป็นนิสัย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กนกอร์ สมปราชญ์. (2559). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. ขอนแก่น:หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. สมุทรปราการ: บริษัทธีรสาส์นพับลิชเชอร์ จำกัด.

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2559). หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ: ผู้ให้และผู้นำทางปัญญา. นครราชลีมา:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2560). "คุณลักษณะครูมืออาชีพยุคการศึกษา 4.0: กรณีศึกษาครูที่ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี รางวัลครูคุณากรและรางวัลครูยิ่งคุณ": รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3: 2560. ครุศาสตร์วิจัย 2560นวัตกรรมการเรียนรู้, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง วันที่ 29 กรกฎาคม 2560.หน้า 17-28.

คนึงนิจ กิจวิธี (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(1): 33-40.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2562), การประชุมวิชาการระดับชาติ การประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงาน วิจัยคัดสรรค์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 3: การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.

วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ Kensington Garden Resort Khaoyai นครราชสีมา: สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (สสอท.) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

จันทรนิวัทธ์ เกษมสันต์. (2551). An Overview of Education and Assessment 23 มิถุนายน 2551.

[ออนไลน์]. ได้จาก: http://fda.sut.ac.th/doc- สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2553.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2561). เสนอแนวคิด ใน การประชุมสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แห่งประเทศไทย. วันที่ 18 ธันวาคม 2561. ที่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กรุงเทพมหานคร.

ธีระ รุญเจริญ. (2562), จิตวิญญาณความเป็นครูในยุคเด็ก Gen Z. กิจกรรมวันครู และรับฟังแนวคิดการพัฒนาวิชาชีพครู จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา วันที่ 13 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมลำตะคอง วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.

ธีระ รุญเจริญ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กรองทิพย์ นาควิเชตร เป็นผู้สัมภาษณ์ที่วิทยาลัยนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563.

บุญมา แพ่งศรีสาร. (2561). คุณลักษณะผู้บริหารทางการศึกษาในยุคศตวรรษใหม่. วารสาร มจรนครน่านปริทัศน์, 2(2): 131 -14 1.

ปูชิตา ศัตรูคร้าม. (2559). คุณลักษณะของครูตามหลักคุรฐานิยมในทัศนคติของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป.

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุต.โต). (2546). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศกรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระมหาสุชาติ เจ้า. (2561). คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดโรงเรียนเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตร: ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท บุ๊ค พอยท์ จำกัด.

วิจารณ์ พานิช และปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร. (2563). การศึกษาคุณภาพสูงระดับโลก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิรเวก สุขสุคณธ์และภารดี อนันตนาวี. (2557). การสร้างรูปแบบภาวะผู้นำแบบรับใช้ของผู้บริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2): 69-83.

ศศิต เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐมเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2557). คุณลักษณะของครูที่ดี (ออนไลน์) ได้จาก: http://www.kruinter.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563.

สมาน อัศวภูมิ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, กรองทิพย์ นาควิเชตร เป็นผู้สัมภาษณ์ที่วิทยาลัยนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562.

สุขัชววีร์ สุวรรณสวัสดิ์. (2561). จดหมายถึงครู โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชววีร์ สุวรรณสวัสดิ. วันที่ 10 ตุลาคม 2561. นำเสนอโดย สมศักดิ์ ประสาร (ออนไลน์) ได้จาก: https://pantip.com/ topic/38200379. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562.

ชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (2562). การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุควิกฤตผู้เรียน. การประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรค์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 3: การจัดการ ศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ Kensington English Garden Resort Khaoyai อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี (สสอท.) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558), พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. (ออนไลน์) ได้จาก: https://dictionary. Sanook.com/search/dict-th-th-royakinstitute. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม2559.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2557). เวทีปฏิรูปการเรียนรู้ส่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 31 โดยสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน วันที่ 17 กันยายน 2557 (ออนไลน์) ได้จาก: http://www.qif.or.th/Home/Contents/949. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563.

อัมพร เบ็ญจพลพิทักษ์. (2556). เด็กเก่ง ดี และมีความสุขได้ในยุคการแข่งขันสูง. กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกูล. (ออนไลน์) ได้จาก: https://th.rajanukul.go.th/สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563.

Cooper, H. and Elton-Chalcraft, S. (eds) (20 18). Professional Studies in Primary Education.3d Edition. Philosophy of Education by Cooper, H.. London: SAGE PublicationsLtd. P. 44-65.