บทบาทการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จารุวรรณ บกสวัสดิ์
คึกฤทธิ์ ศิลาลาย

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 กรุงเทพมหานคร ซึ่งจำแนกตามระดับการศึกษา ตำแหน่งครู และประสบการณ์การทำงาน กลุ่ม ตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 กรุงเทพมหานครจำนวน 285 คน ซึ่งได้มาโดยการเปิดตารางของโคเฮน (Cohen, 2011) ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.05 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ ค่าความเที่ยงตรง (10C) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliablity) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (1)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างจะทดสอบรายคู่ โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's method)


ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษา ตำแหน่งครู และประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีบทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2 กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กาญจะณี เนียมจันทร์. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูในการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จำรัส นองมาก. (2554). ปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ:ซันปริ้นติ้ง.

เจษฎา บุตรดีไชย. (2559). การปฏิบัติตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ดอเลาะ การี. (2556). การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชน

สอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นลินรัตน์ ภาโอภาส. (2558). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาน ศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหา บัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ภัสกร นุ่นปาน. (2555). สภาพปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 12. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ศศิวิมล ภูมิแดง. (2556). ความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. (2545). การศึกษา. (ออนไลน์), จาก http://www.psproject.org/projects/child/child__web/education_dev_teacher.html. (สืบค้นเมื่อ19 ธันวาคม 2563).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 (2559). การประกันคุณภาพการศึกษา สู่คุณภาพมาตรฐานที่เป็นเลิศ.(ออนไลน์).จากhttps://spbkk1.sesao1.go.th/year2559/Untitled.pdf. (สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการ ศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษา พิเศษ. (ออนไลน์). จาก https://bet.obec.go.th/index/wp-content/ uploads/ 2018/08/ nn3,pdf. (สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (ออนไลน์).http://www.ga.ku.ac.th/photo_forweb/ new%20web/education/docedu/d7.pdf. (สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2563).

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุภาวดี จตุรงควาณิช. (2555). การศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒอรุนี ศิริสุขไพบูรณ์. (2558). การศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research method in education. New York:Rutledge.

Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140):1-55.

Patricia, B. (1994). Appeach to quality assurance and central in other country. WashingtonDC: ERIC Clearinghouse.

Spies, P.C. (1999). The Dynamic of Implementation and sustaining inter disciplinary teams indepartmentalized high school (School reform): The University of Wiscosin-Madison.