การประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model)ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, D.L) โดยมีขอบเขตเนื้อหาในการประเมินโครงการ 4 ด้าน ประกอบ ด้วย ด้านบริบท (Context) ปัจจัยเบื้องต้น (Input) กระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product)ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ บุคลากรฝ่ายบริหารและสายผู้สอน ของวิทยาลัยเทคนิคกาญจนา ภิเษกอุดรธานี จำนวน 65 คน ผู้เรียน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- ผลประเมินด้านบริบทของโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวม ด้านบริบทของโครงการมีความเหมาะสมมาก (X=4.36) ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ระดับเหมาะสมมากที่สุด (X=4.58) ข้อที่มีความเหมาะสมต่ำสุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา เหมาะสมมาก (X=4.00)
- ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ปีการศึกษา 2562 พบว่าการประเมินด้านปัจจัย เบื้องต้นภาพรวมมีความเหมาะสมมาก (X=4.43) ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการระดับเหมาะสมมากที่สุด (X=4.62) ข้อที่มีความเหมาะสมต่ำสุด คือ มีการประสานและการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ระดับเหมาะสมมาก (X=4.18)
- ผลการประเมินด้านกระบวนการในการดำเนินงานของโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี มีความเหมาะสมมาก (X-4.47) ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ มีการประชุมชี้แจงก่อนดำเนินกิจกรรมทุกครั้ง ระดับเหมาะสมมากที่สุด (X=4.62) ข้อที่มีความเหมาะสม ต่ำสุด คือ มีการนิเทศติดตามการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง (X=4.26)ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการสถานศึกษาพอเพียงวิทยาลัยเทคนิคกาญจนา ภิเษกอุดรธานี
4.1 ด้านการบริหารจัดการโครงการ มีความเหมาะสมมาก (X=4.46) ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ ผู้เรียนนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ระดับเหมาะสมมากที่สุด (X=4.60) ข้อ ที่มีความเหมาะสมต่ำสุด คือ ระบบงานสารสนเทศเป็นปัจจุบัน สะดวกในการใช้ เหมาะสมมาก (X=4.29)
4.2 ด้านความพึงพอใจผู้บริหาร ครู และผู้เรียน มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการสถาน ศึกษาพอเพียง วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกอุดรธานี ในระดับที่มาก
Downloads
Article Details
References
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮ้าออฟ เคอรุมิสท์.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). เทคนิควิธีประเมินโครงการ กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
วิลัยกุล บุญช่วยสุข. (2559). ประเมินโครงการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนเลิศปัญญา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). เทคนิคการบริหารสำหรับนักการบริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ:จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการหน่วยที่ 11-15.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมนึก แพทย์พิทักษ์. (2561). การน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. ออนไลน์ สืบค้นจาก https://
otepc.go.th/images. สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2561.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). แนวทางการดำเนินงานประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถาน ศึกษาพอเพียง) ประจำปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: กลุ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.