การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชมชนการเรียนร้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

Main Article Content

อมตา จงมีสุข
จุลดิศ คัญทัพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความ ต้องการจำเป็นของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3


2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ประชากรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จำนวน 3,479 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 โดยกำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย


ค่าเฉลี่ย (Means) ร้อยละ (Percentile) และใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNmodied ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของผู้บริหารและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ภาพรวม สภาพปัจจุบัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ความ ต้องการจำเป็น พบว่า โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ลำดับที่ 1 ภาวะผู้นำร่วม ลำดับที่ 2 โครงสร้างสนับสนุนชุมชน ลำดับที่ 3 การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ลำดับที่ 4 ความเป็นกัลยาณมิตร ลำดับที่ 5 ทีมร่วมแรงร่วมใจ และลำดับที่ 6 วิสัยทัศน์ร่วม 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 มีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ 18 ด้าน 36 แนวทาง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชูชาติ พ่วงสมจิตตร์(2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian EJournal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2).

ปิยณัฐ กุสุมาลย์. (2560), แนวทางการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการ จัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกพล อยู่ภักดี และวัลลภา อารีรัตน์. (2559). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทการศึกษาไทย,Panyapiwat Journal, 8(1).

Eastwood, K., & Louis, K. (1992). Restructuring that lasts: Managingthe performance dip.Journal ofSchool Leadership, 2(2).