การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษา เขต 27
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นและพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 โดยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางทางการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 27 โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทาง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันของการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 27 โดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการ พัฒนา พบว่า ด้านการวางแผนและพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียน มีความต้องการพัฒนามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน และด้านการติดตามและประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน ตามลำดับ
2. แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 27 ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) ความมุ่งหมาย 3) แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 3.1) ด้านการวิเคราะห์สภาพ ปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศภายในโรงเรียน 3.2) ด้านการวางแผนและพัฒนาการ นิเทศภายในโรงเรียน 3.3) ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน 3.4) ด้านการติดตามและประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน 3.5) ด้านการเผยแพร่และขยายผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนภายในโรงเรียน 4) กลไก และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ โดยผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27โดยรวมมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2546) คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2538). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา.
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธารอักษร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพฯ.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
วิชชุดา หุ่นวิไล. (2542). การบริหารบุคคลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (2560). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 ประจำปีงบประมาณ 2560. ร้อยเอ็ด: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ร้อยเอ็ด: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2551). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษากรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุนีย์ ดอกดวง. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อิสริญาภรณ์ โชคแสน. (2562). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการ ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. 3ª ed. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.