โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยุคดิจิทัลเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่บุคคลเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและง่าย นี่คือข้อดีของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น สื่อโซเชียลมีเดียทั้งหลายที่คนทั่วโลกเข้าถึงได้ง่ายดายและฉับไว และเป็นความบันเทิงของคนส่วนใหญ่อีกด้วย แต่เมื่อมีข้อดีหรือประโยชน์ก็ย่อมมีข้อเสียหรือโทษเช่นเดียวกับเหรียญที่มีสองด้านฉันใดก็ฉันนั้น ข้อเสียหรือโทษคือ หากมีการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ เศร้า ซึม หรือความรู้สึกด้านลบขึ้นมาได้ และเมื่อใครที่รู้สึกว่า ตัวเองไม่ค่อยมีความสุขในชีวิตสักเท่าไรในช่วงนี้ควรตระหนักได้ว่ากำลังเกิดโทษขึ้นแล้ว และต้องรู้จักวิธีจัดการกับโทษนั้นด้วยวิธีการบำบัดตัวเองที่เรียกว่า โซเชียลมีเดีย ดีท็อกซ์ (Social Media Detox) หรือดีจิทัล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) ซึ่งเป็นการบำบัดอาการเสพติดโซเชียลมีเดียจนก่อให้เกิดความทุกข์ เพื่อ ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น วิธีการบำบัดแบบนี้เป็นการพาตัวเองออกห่างจากโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อันเป็นการ พักใจ พักสมอง และเรียกคืนความคิดความรู้สึกที่เป็นตัวเองกลับคืนมา โดยมีวิธีปฏิบัติหลายวิธีเช่น ปิดโทรศัพท์มือถือ 1 วัน หรือเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ธรรมดาที่ไม่ใช่สมาร์ตโฟนอย่างน้อย 1 วัน Log out เฟซบุ๊ก ไลน์ หรืออินสตาแกรมอย่างน้อย 1 วัน ถ้าทำใจเลิกเล่นโซเชียลมีเดียไม่ได้ ให้ลองคัดเพื่อนในโซเชียลมีเดียให้เหลือแต่คนที่สนิทกันจริง ๆ หากิจกรรมอื่นทำแทนเล่นโซเชียลมีเดีย หรือออกท่องเที่ยวและ สัมผัสช่วงเวลาแห่งความสุขด้วยสายตาตัวเองโดยไร้ซึ่งสมาร์ตโฟน รวมทั้งปรับทัศนคติในการเล่นโซเชียลใหม่โดยรู้เท่าทันว่าคนในโลกโซเชียลมักจะเสนอแต่แง่มุมดีๆ ของตัวเองทั้งนั้น แต่จริง ๆ แล้วไม่มีอะไร ที่ดีเพียงด้านเดียวไม่ว่าคนหรือสิ่งต่าง ๆ ย่อมมีดีและเสีย มีสุขและทุกข์ปนกันไป นั่นคือชีวิตบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง สำหรับประโยชน์ที่ได้จากการบำบัดเช่น มีเวลาได้ทบทวนตัวเอง ได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆมากขึ้น รู้สึกเป็นอิสระมากขึ้น ได้ฝึกสมาธิ ได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนใกล้ตัว ได้ใช้ชีวิตอย่างมีชีวิตชีวามากขึ้น สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น และมีความรักต่อตนเองมากขึ้น
Downloads
Article Details
References
กานดา รุณนะ พงศา สายแก้ว. (2557). โซเชียลมีเดีย. ขอนแก่น: ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พีระ จิรโสภณ, ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์, มนต์ ขอเจริญ, ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา, อุษา รุ่งโรจน์การค้า,โสภัทร นาสวัสดิ์ และณัทธสิฐษิ สิริปัญญาธนกิจ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัล กับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์.
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2562). Digital Detox? บำบัดพฤติกรรมติดจอ ช่องทางธุรกิจใหม่ในโลกยุคดิจิตอล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.
สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). ปทุมธานี: บริษัทนิชชาวัฒน์จำกัด.
ห้องสมุดดิจิตอลออนไลน์. (2557). บทบาทและความสำคัญของห้องสมุดดิจิตอลในปัจจุบัน http://www.nfbcl.org/d
Murphy, A (2019). How to Take a Social Media Detox and Improve Your Mental Health.https://declutterthemind.com/blog/social-media-detox/?fbclid=wAR1X2N22x21BOOqNMdxrHjmIR3wgS8dQql6ngcshS7B0ActbnXOa-KZTFQ
Whitley, R. (2020). Social Media and Mental Health: Time for a Digital Detox? https://www.
psychologytoday.com/intl/blog/talking-about-men/202002/social-media-and-mental-health-time-digital-detox.