การศึกษาการบริหารจัดการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา สิริพัฒนโชติกุล อาจารย์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิไลลักษณ์ อุ่นจิตร อาจารย์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการองค์การ, คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการบริหารจัดการ ด้านโครงสร้าง และการบริหารคณะการบริหารงานบุคคล ดัชนีวัดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดีในด้านโครงสร้างการบริหารบุคคล การบริหารการเงิน และทรัพย์สินของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นประกอบด้วยข้าราชการสาย ก และกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างและการบริหารคณะ และดัชนีวัดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดีในด้านโครงสร้าง การบริหารบุคคล และการบริหารการเงิน/ทรัพย์สิน ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา อยู่ในช่วง 0.66 - 1.00 ความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (a-Cronbach Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า โครงสร้างและการบริหารคณะ ด้านเป้าหมายในการพัฒนาคณะอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ความเป็นอิสระทางการบริหาร องค์ประกอบของกรรมการประจำคณะ ควรประกอบด้วยคณบดีและผู้บริหาร ด้านคุณลักษณะของกรรมการบริหารประจำคณะ คือ ความสามารถในการได้มาซึ่งงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การจำแนกบุคลากรควรมีสองสาย คือ สายวิชาการ และสายสนับสนุน วิชาการ แบ่งเป็นภาควิชา ดัชนีวัดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดี คือ การบริหารงานควรทำงานเป็นทีมเพื่อลดความเสี่ยงในการบริหาร ด้านการบริหารการเงินและทรัพย์สิน คือ บุคคลในแต่ละส่วนราชการมีส่วน ร่วมในการเสนอความคิดเห็นในการจัดสรรงบประมาณและการจัดการทรัพย์สินของส่วนราชการของตน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชนิดา มิตรานันท์. (2554). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของภาควิชาการ ศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศของสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ วิทยานิพนธ์ บริหารการศึกษา. จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. วี อินเตอร์ปริ้น:กรุงเทพฯ,

บุญชม ศรีสะอาด. (2542), วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น บุษรา ประกอบธรรม.(2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS = Research analysis withSPSS. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประพันธ์ ภักดีกุล และคณะ. (2549). รูปแบบการจัดการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

มานิต บุญประเสริฐ และคณะ. (2549), รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาภาวะผู้ในระดับอุดมศึกษา.กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2555). แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2556-2559 (ฉบับปรับปรุง ตุลาคม 2555). สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามอนุมัติในการประชุม ครั้งที่ 10/2555วันที่ 26 ตุลาคม 2555

ลักษณมี คำแสน (2550). การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรต่อการปรับโครสร้างองค์การ: กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การศึกษาอิสระ ศศ.ม. การบริหารการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สภาคณาจารย์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่ประชุมสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (ปอมท.).(2542). การบริหารจัดการที่ดีในมหาวิทยาลัย. การสัมนาวิชาการประจำปี 2542 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันที่ 20-21 พฤษภาคม 2542.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2557). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 2558. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้น แอนด์ มีเดีย.

รัชนา ศานติยานนท์. (2544) รูปแบบใหม่ของการบริหารจัดการที่ดีในมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิจารณ์ พานิช. (2555). ข้อคิดเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัยยุคใหม่, จาก http://www.gotoknow.org/posts/474421> 25 ธันวาคม 2555.

Gulick, L. (1973). Notes on the Theory of Organization. In L. Gulick and L.F.Urwick (Eds), Papers on the Science of Administration. New York: Institute of PublicAdministration, Columbia University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-18