คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) ศึกษาสมรรถนะประจำสายงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารสถาน ศึกษากับสมรรถนะประจำสายงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร และ
4) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มี 3 ตอนได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliabilit) โดยหาค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ตอนที่ 2 เท่ากับ .986 และ ตอนที่ 3 เท่ากับ.976 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation Coefficient) และสร้างสมการเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) สมรรถนะประจำสายงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะประจำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.913) 4) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผล ต่อสมรรถนะประจำสายงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ประกอบ ด้วย 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านบุคลิกภาพ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านมีมนุษยสัมพันธ์และด้านความสามารถทางเทคโนโลยี ซึ่งเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)
Y ́ = .385 + .380X5 + .132X6 + .139X1 + .118X4 + .148X2 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score) Z ́y = .409ZX5 + .143ZX6 + .184ZX1 + .208ZX4 + .172ZX2
Downloads
Article Details
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2562). ปัญหาหลักของการศึกษาไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พศจิกายน2564,
จากhttps://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/122393
คะนึ่งนิตย์ กิจวีธี. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศควรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิตสาขา วิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิดวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จริญญา เกษมศรี. (2560). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของครูในสถาน ศึกษาศูนย์ชายแดน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559), ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหมในศตวรรษที่ 21 [ออนไลน์). วารสารการประชุม วิชาการระดับครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน:ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2564. จาก https://conference.
edu.ksu.ac.th/fle/20160809 2488101126,pdf.301-312
ถวิล อรัญเวศ. (2563), ผู้บริหารมืออาชีพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564, จาก https://thawin09.blogspot.com/2021/08/blog-post_55.html.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: ข้าวฟ้าง.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
นลินทิพย์ สังข์เจริญ. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พัฐณสิญ นวโลจิตรัตน์. (25 กันยายน 2560) รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(2), 47.
พิมพ์ชนก ตัณฑะเตมีย์. (2559). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
มัณฑนา ทิมมณี. (2553). ความต้องการการพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนเทคโนโลยีชลบุรีจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
มานิตย์ นาคเมือง. (2551) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูประจาสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัศมี สีหะนันท์. (2551). การประเมินสมรรถนะความเป็นครูของข้าราชการครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.mdh.go.th/view.php?article_id=7286
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (2563). แผนพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564, จาก http://skm.obec.go.th/portal2/wpcontent/uploads/2018/11/%E0%B8%99%Е0%B9%82%E0%B8%A2%Е0%B8%9A%E0%B8%B2%Е0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%90.%E0%B8%9B%E0%B8%B5-62.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ.2562-2564 (EDUCATION THAILAND 2019-2021). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://online.fliphtml5.
com/wbpvz/tmhz/#p=1.