ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) ศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3) ศึกษาความสัมพันธ์
ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 และ 4) ศึกษาภาวะผ้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ทั้งหมด จำนวน 336 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อ
มั่น (Reliability) โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ0.98 และ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)และสร้างสมการเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (StepwiseMultiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3)ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับที่สูงมาก (rxy = .877) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) ภาวะผ้นูำ การเปลี่ยนแปลงของผ้บูริหารสถานศึกษาองค์ประกอบการสร้างแรงบนั ดาลใจ (X4) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X2) การกระตุ้นทางปัญญา (X1) และการให้รางวัล (X5) ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยตัวแปรทั้ง 4 นี้ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ได้ร้อยละ 78.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบY´ = .117 + .304X4 + .242X2 + .265X1 + .281X5สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z´y = .283ZX4 + .247ZX2 + .288ZX1 + .274ZX5
Downloads
Article Details
References
พิพัฒน์พงศ์ หมวกไธสง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ภัทรพล ไหลไพบูลย์. (2554). องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนา ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี: สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2.
อรสา จรูญธรรม. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชนูปถัมภ์.
อาซีซ๊ะ ยีหะมะ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายธารามิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกพาประถมศึกษาปัดตานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ยะลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
Barling, J., Weber, Tom. & Kelloway, E. Kevin. (1996). Effects of Transformational LeadershipTraining on Attitudinal and Financial Outcomes. Journal of Applied Psychology, 81(6).
Bass, Bernard M. (1997). Does the Transactional-Transformational Leadership ParadigmTranscend Organizational and National Boundaries. American Psychologist.
Bass, Bernard M. & Riggio, Ronald E. (2006). Transformational Leadership. (2nd ed).New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Hay Acquisition Company I, Inc (2002). The organizational climate dimensions. (14th ed.).Boston: McBer and Company.
Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2001). Educational Administrations Theory Research andPractice. 6th ed. New York: McGraw-Hill.
Leithwood, K. and Jantzi, D.(1996). “Toward an Explanation of Variation in Teacher’Perceptions of Transformational School Leadership. Educational AdministrationQuarterly, 32(5), 510-538.
Marquardt, M and Reynolds A. (1994). The Global Learning Organization. New York: IRWIN.