การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยวิธีการจัดการเรียน รู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนสาขาการบัญชี ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2

Main Article Content

ธีวรา กมลเพชร
ประสงค์ สายหงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียน ก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนสาขาการบัญชี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC จำนวน 6 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวมใช้เวลาทั้งหมด 18 ชั่วโมง แบบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้1. การจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคCIRC มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.87/78.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้2. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนสาขาการบัญชี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRCหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2550). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ:

กระทรวงศึกษาธิการ.กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ ์ครั้งที่ 3. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ดุษฎี นาหาร. (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ SQ3R.วารสารศึกษาศาสตร์, 4(3), 24–31.

ธิดา ทิพย์สุข. (2552). การพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิตรวัลย์ โกวิทวที. (2550). ทักษะและเทคนิคการสอนเขียนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรินทร์ พรวณแก้ว. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคCIRC เรื่อง My Happy Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). บทบาทการขับเคลื่อนการศึกษาในประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์] ได้จากhttp://www.social.obecgo.th/node/81 [สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 กรกฎาค 2563].

เรวดี หิรัญ. (2539). แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วณัฐฐา หงส์อินทร์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC และแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา. วารสารวิชาการฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ,7(1), 463–478.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพมิ พ์มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ:

เลิฟ แอนด์เลิฟเพรส.

ศรีสุวรรณ วิวิธเทศ. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบให้นักเรียนร่วมมือกันเรียนกับการสอนแบบปกติ.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์. (2550). การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จในการพัฒนาการรู้หนังสือเพื่อปวงชน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรตารีแห่งประเทศไทย.

Grabe, W. and Stoller, F. (2002). Teaching and Researching Reading. Reading in aForeign Language, 14(2), 155–57.

Hayashi, K. (1999). Reading Strategies and Extensive Reading in EFL Class. RELC Journal,30(2), 114–32.