แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเตรียมทหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเตรียมทหาร และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเตรียมทหาร โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลแบบสอบถาม
ในกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ ครู-อาจารย์ บุคลากรฝ่ายปกครอง และนักเรียนหัวหน้าตอน (หัวหน้าชั้นเรียน) ของโรงเรียนเตรียมทหาร รวมจำนวนทั้งสิ้น 186คน และสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทน (ผู้บริหาร/ผู้นำ) กลุ่มดังกล่าว จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเตรียมทหาร
โดยรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านทัศนคติ รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านวินัยทหารและความเป็นผู้นำ ด้านความรู้ทางทหาร ด้านวิชาการ และด้านสมรรถภาพร่างกายตามลำดับ แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเตรียมทหาร ในภาพรวม
พบว่า มี 5 แนวทาง ได้แก่ 1) ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยกำหนดวิธีการติดตามประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นไปได้จริง 2) เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามลำดับความเร่งด่วนโดยเรียงจากด้านที่มีปัญหามากที่สุดก่อน 3) ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาเสริมสร้าง
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง4) ส่งเสริมการใช้งานดิจิทัลอย่างเหมาะสม สร้างสรรค์และปลอดภัย และ 5) ใช้เครื่องมือดิจิทัลช่วยในการประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ส่วนแนวทางการพัฒนา
เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเตรียมทหารเป็นรายด้าน พบว่า มี 23 แนวทางย่อยซึ่งโรงเรียนเตรียมทหารสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเตรียมทหารให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงในอนาคตต่อไป
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก https://sgs.boppobec.info/menu/Data/measurmentGuide.pdf
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2552). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(3), 154-162. สืบค้นจาก http://journal. drchalard.com/journal/1/1-3/aded_1_3_11.pdf
พรรณพิลาศ กุลดิลก (2560). การขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(49), 59-77. สืบค้นจากhttps://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/view/99215/77122
ภัคภณ สนิทสม และณัฐพล จารัตน์ (2558). คุณลักษณะผู้นำ ทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพไทย. วารสารนักบริหาร, 35(1), 75-86. สืบค้นจากhttp://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/20055/DL_10531.pdf?t=637249371256601921
มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์. (2551). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 2(1), 25-33.
โรงเรียนเตรียมทหาร. (2560). หลักสูตรโรงเรียนเตรียมทหาร พุทธศักราช 2554 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560).
วชิรดล คำศิริรักษ์, อุษา ปราบหงษ์ และ ถาดทอง ปานศุภวัชร. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(1), 97-105. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj /article/view/53363/44297
วรพจน์ วงศ์กจิ รุ่งเรือง. (2561). คู่มอื พลเมืองดิจิทัล. สบื ค้นจาก https://thaidigizen.com/wp-content/uploads/2018/06/DigitalCitizenship-Book-ok.pdf
วรลักษณ์ สงวนแก้ว. (2563). พลเมืองดิจิทัล: Digital Citizens. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-59(500)/page2-1-59(500).html
สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล. ใน เข็มพร วิรุณราพันธ์ และลักษมี คงลาภ (บ.ก.).สืบค้นจาก http://cclickthailand.com/ fact-sheet-ความฉลาดทางดิจิทัล-dq-digital-intelligenc/
สุรศักดิ์ ประทานวรปัญญา. (2557). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือตามความคาดหวังของผู้บังคับบัญชาในส่วนบัญชาการกองทัพเรือ (Master’s thesis). สืบค้นจาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55930008.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มงานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ. (2562). เอกสารบทความวิชาการด้านเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ. สืบค้นจาก https://www.parliament. go.th/
ewtcommittee/ewt/25_people/ewt_dl_link.php?nid=101&filename=index
สำนักงานบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552).แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. เอกสารสนับสนุนการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล.