ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาทีส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1

Main Article Content

ประเสริฐ กองสุข
ชัยยนต์ เพาพาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 2) ศึกษาประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู และ 4 ) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผบู้ ริหารสถานศกึ ษาและครู สังกดั สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึ ษารอ้ ยเอ็ด เขต 1 จำนวน 342 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ครูจ􀄽ำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามประสิทธิภาพการสอน เท่ากับ 0.74
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ การกำหนดวิสัยทัศน์เป้าหมายและพันธกิจ การบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน การนิเทศการจัดการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับต่ำสุด คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2)ประสิทธิภาพการสอนของครูอยู่ในระดับมากที่สุดโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ด้านเทคนิคและทักษะในการสอนที่หลากหลาย และด้านการวางแผนและเตรียมการสอน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรและเนื้อหาวิชาที่สอน 3) ภาวะผู้น􀄽ำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้น􀄽ำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (X5) ด้านการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ (X4) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน (X2) ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครู ร้อยละ 54.70 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้



สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบY´ = 1.762 + .256X5 + .216X4 + .150X2
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z´y = .345ZX5 + .262ZX4 + .195ZX2

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กอบศักดิ์ มูลชัย. (2554). ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จรัสศรี หะทะยัง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จักรกฤษ วงษ์ชาลี. (2551). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ฐิติณัฐ ปรุงชัยภูมิ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ทิศนา เขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรา สมประสงค์. (2555). การจัดและบริหารองค์การทางการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นาวา สุขรมย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุดรธานี: มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี.

บญุ ชม ศรสี ะอาด. (2556). วิธีการทางถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1 (พิมครั้งที่ 5). กรงุ ทพฯ: สุวิรียาสาสน์ .

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

วิเชียร ทองคลี่. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2545). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต1. (2564). ข้อมูลสารสนเทศ. ร้อยเอ็ด: กลุ่มนโยบายและแผน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1.

Hoy, A.W., and Hoy, W.K. (2006). Instructional Leadership a Learning–crentered guide. The United States of Amarica: Allyn and Bacon.

Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R.R. (1962). New pattern of Management. New York: McGraw-Hill. Murphy, K.J. and Kewin, O. (1999). Handbook of Labor Economics. Amsterdam: North-Holland Constructivist Perspeetives.