การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

Main Article Content

ณัฐวัฒน์ เทศบุตร
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจ􀄽ำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเก็บข้อมูล
จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 314 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของ
ความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัย พบวา่


1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม อยู่ในระดับน้อย ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเรียงจากมากไปหาน้อยคือ การกำหนดวิสัยทัศน์ ความคาดหวังและสร้างโอกาสแห่งอนาคต ความสามารถนำ ปัจจัยต่างๆ มากำหนดกลยุทธ์ การคิดเชิงปฏิวัติ และความคิดความเข้าใจระดับสูง ตามลำดับ


และ 2) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย 5 โมดูล (Module) ได้แก่ Module 1: ความคิดความเข้าใจระดับสูง Module 2: ความสามารถนำปัจจัยต่างๆ มาก􀄽ำหนดกลยุทธ์ Module 3: ความคาดหวังและการสร้างโอกาสแห่งอนาคต Module 4: การคิดเชิงปฏิวัติ และModule 5: การกำหนดวิสัยทัศน์ 4) กิจกรรมและวิธีการพัฒนา ประกอบด้วยการสร้างความตระหนักการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การพัฒนาโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และ 5) การประเมินผล และผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4(1), 201-211.

จรูญรัตน์ วัฒนศักดิ์ศิริ (2561). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ตะวัน สื่อกระแสร์. (2556). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์, 6(3), กันยายน- ธันวาคม.

ธานินทร์ เอื้ออภิธร. (2560). มนุษย์จะสร้างทักษะการเรียนรู้ใหม่เพื่อรับมือความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร. แหล่งสืบค้น ttps://thestandard.co/author/thanin/ สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564.

ธีรศักดิ์ ชนะบางแก้ว. (2557). ภาวะผู้นำ. แหล่งสืบค้น: http://baanjomyut.com. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2564.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์: การแปลงวิสัยทัศน์สู่ความเป็นจริง. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิมพ์พิศา ชัชชวพันธ์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรงุเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Betty, A. (2005). Lesson in Strategic Leadership for Service. Nurse Leader, 3(5), 25-35.

Dubrin, J.A. (2004). Leadership: Research Finding: Practice and Skills. Boston: Houghton Mifflin Company.

Dubrin, J.A. (2010). The Principles of Leadership. 6th ed. Toronto: Houghton Mifflin Company.

Giles, S. (2017). How VUCA is Reshaping the Business Environment, and What it Means for Innovation. Retrieved from: https://www.forbes.com, 20 May 2021.

Ireland, R.D. & Hitt, M.A. (1999). Achieving and Maintaining Strategic Competitiveness in the Twenty-first Century: The Role of Strategic Leadership. Academy of Management Executive, 13(1), 43-47.

Ivancevich, J.M., and Matterson, T.M. (2008). Organization Behavior and Management. 6th ed. Houston: McGraw–Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lombardo, M.M., and Eichinger, R.W. (1996). Career-architect Development Planner. Minneapolis, MN: Lominger

Maria E.M. (2011). Leadership theory and educational outcomes: The case of distributed and transformational leadership. Retrieved from: http://www.icsei.net/icsei2011/Full%20Papers/0125.pdf, 20 August 2021.

Rabin, R. (2013). Blended Learning for Leadership: The CCL Approach. Retrieved December 31, 2014, from http://www.ccl.org/Leadership/pdf/research/ BlendedLearning Leadership.pdf

Reinhold, D., Patterson, T., and Hegel, P. (2015). Make Learning Stick: Best Practices to Get the Most Out of Leadership Development. Retrieved from Center for Creative Leadership website: http://media.ccl.org/wp-content/uploads/2015/02/MakeLearningStick.pdf.