ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 2) ศึกษาบรรยากาศองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศกึ ษา เท่ากับ .97 และ แบบสอบถามบรรยากาศองค์ในโรงเรียน เท่ากับ.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) บรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับที่สูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r)=.867 4) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านการกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนด้านการกำหนดเป้าหมายและพันธกิจของโรงเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการบริหารหลักสูตรและการสอน และด้านการวัดและประเมินผล ซึ่งเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)
Y´ = 0.782 + 0.348X6 + 0.139X1 + 0.123X4 + 0.107X2 + 0.091X5
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)
Z´y = 0.444ZX6 + 0.170ZX1 + 0.162ZX4 + 0.123ZX2 + 0.108ZX5
Downloads
Article Details
References
กมลกาญจน์ อรุณรัตน์ และธันยาภรณ์ นวลสิงห์. (2563). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(1), 18-26.
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2547). สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: เจริญผล.
นาวา สุขรมย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
มาโนช เฮงยศมาก และอาคม อึ่งพวง. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(4), 112-118.
ละอองดาว ปะโพธิง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). นนทบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิเชียร ทองคลี่. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุกัญญา ราชชุยแสน และธันยาภรณ์ นวลสิงห์. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ครั้งที่ 10 วันที่ 19-20 กันยายน 2562. 473-485.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2562). ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาปีการศึกษา 2562. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2562). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ2562.กาฬสินธุ์ เขต 3. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่12 (พ.ศ.2560-2564). เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563.สืบค้นจาก http://www.bpp.mua.go.th/main/download/plan/EducationPlan12.pdf.
อรรถพล เทินสะเกษ และยุวธิดา ชาปัญญา. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 199-207.
อุไรวรรณ บุญธรรมมา และประหยัด ภูมิโคกรักษ์. (2559). แนวทางการส่งเสริมบรรยากาศองค์การและความผูกพันต่อองค์การในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31. วารสารราชพฤกษ์, 14(3), 87-94.
David C. & Thomas, D.A. (1989). Leadership in Organization. (2nd ed). Englewood cliffs, NJ: P Hall.
Haynes & Corner. (1993). Content Validity in Psychological Assessment: FunctionalApproach to Concepts and Method. Psychological Assessment, 3(2), 209-230.
Robbins, S.P. and Judge, T.A. (2012). Organizational Behavior. (12th ed). New Jersey: Pearson Education.