ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2

Main Article Content

เสถียร นิลบุตร
โกวัฒน์ เทศบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการทำวิจัยของครู 2) ศึกษาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำวิจัยกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร
เขต 2 และ 4) ศึกษาปัจจัยการท􀄽ำวิจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดส􀄽ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 จำนวน 327 คน กำหนดขนาด
กลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตาราง Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยแบบสอบถามปัจจัยการทำวิจัยของครู มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 และแบบสอบถามการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู มีค่าความเชื่อมั่น 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการทำวิจัยของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านแรงจูงใจการทำวิจัย ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย ด้านความสามารถและทักษะการทำวิจัย และด้านการสนับสนุนการทำวิจัย ตามลำดับ 2) การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านการสรุปและการเขียนรายงานการวิจัย ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านกำหนดปัญหาการวิจัย และด้านการวางแผนการวิจัย ตามลำดับ 3) ปัจจัยการทำวิจัยของครูกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก (r=0.859) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยการทำวิจัยของครู ด้านสนับสนุนการทำวิจัย ด้านแรงจูงใจการท􀄽ำวิจัย และด้านความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย ร่วมกันพยากรณ์การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ร้อยละ 73.90 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y´ = 0.429 + 0.499X4 + 0.214X3 + 0.207X2
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z´y = 0.586Zx4 + 0.183Zx3 + 0.202Zx2

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ดรณี ปะสังติโย, ศิริ ถีอาสนา, และเกียงศักดิ์ ไพรวรรณ. (2555). การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านเหล่าสำนังานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(3), 67–74.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราณี สีลาโคตร, ไพศาล วรคำ และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2554). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 92-94.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูลสุข สังข์รุ่ง. (2550). มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บี เคอินเตอร์ ปริ้นท์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. (2561). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นข้อมูลวันที่ 10 กรกฎาคม 2563. จาก http://www.yst2.go.th/web/?page_id=3702.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี15 ปี อย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). นโยบายแผนการศึกษาชาติ. สืบค้นข้อมูลวันที่ 10 กรกฎาคม 2563. จาก http://www.onec.go.th/index.php/page/view/Outstand/2532

สุวิมล ว่องวาณิช. (2554). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์มครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สันห์ลักษณ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. วารสารการวิจัยกาสะลองคำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 115-123.

Bloom, B.S. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book.

Eisenberger, R. (2002). Perceived Organizational Support: A review of the Literature. Journal of Applied Psychology, 87, 698-714.

Rhoades, L. (2001). Affective Commitment to the Organization: The Contribution of Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology, 86(5), 825-836.