แนวทางการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2

Main Article Content

ปัทมาภรณ์ เกตุศรี
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจ􀄽ำเป็นของการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา
และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 253 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการ
ศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ สถิติในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผ้เู รียน สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนร้วู ิถีใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การช่วยเหลือผู้เรียนที่ขาดความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้ แนวทางการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 มีองค์ประกอบ 5 ด้าน 15 ตัวบ่งชี้ และมีแนวทางการพัฒนา 27 แนวทาง โดยรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กาญจน์ เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2554). ทฤษฎีผู้นำ􀄦. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). บทความปริทัศน์ เรื่อง การจัดการเรียนรู้ยุค New normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), พฤษภาคม-สิงหาคม.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย: วิทยาเขตศรีล้านช้าง.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), พฤษภาคม-สิงหาคม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2563). INSTRUCTIONAL DESIGN FOR ONLINE LEARNING. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มารุต พัฒผล, จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย และคณะ. (2564). ผลการศึกษาเบื้องดัน การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์ COVID-I9.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). New normalทางการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2563). การออกแบบการเรียนรู้ใน New normal. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMALCOVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), พฤษภาคม-มิถุนายน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำ􀄦ปีงบประมาณ2564. มหาสารคาม ; สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.

อัมพร พินะสา. (2563). ประกาศสำ􀄦นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำ􀄦นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2563.