ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 2) ศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 3) ศึกษา
ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ทั้งหมด จำนวน 347 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.98 และ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสร้างสมการเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับที่สูง (rxy = .648**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการนิเทศการสอน (X4) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศ ทางวิชาการ (X5) ด้านการวัดผลและประเมินผล (X3) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน (X1) และด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนา (X6) ส่งผลต่อ ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยตัวแปรทั้ง 5 นี้ร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ได้ร้อยละ 45.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y´= 1.632 + 0.199X4 + 0.179X5 + 0.088X3 + 0.088X1 + 0.075X6
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z´y= 0.288ZX4 + 0.262ZX5 + 0.138ZX3 + 0.137ZX1 + 0.111ZX6
Downloads
Article Details
References
ชัยลักษณ์ รักษา, สนั่น ฝ้ายแดง และอมรวรรณ วงศ์โกมลเชษฐ์. (2552). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนที่จัดการศึกษา ช่วงชั้นที่ 1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1. การค้นคว้าอิสระด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
นิรมล คงประจักษ์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 159-173.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยะวรรณ แวววรรณจิตต์, ชไมพร ดิสถาพ และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ. วารสารบริหารการศึกษามศว, 15(29), 6-8.
พนิดา อัครพูลพัฒน์ (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(17), 120-129.
ราตรี พาลาด, กรองทิพย์ นาควิเชตร และศรุดา ชัยสุวรรณ. (2560). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 4(1), 7-11.
วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุรภา เกตุมาลา. (2552). การศึกษาการพัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแบบภาวะผู้นำในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.
สมถวิล ศิลปะคนธรรพ์ และสำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2557). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 185-186.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน. (ออนไลน์). จาก http://www.ret2.go.th/ict/.
สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2551). แนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. ในเอกสารประกอบการประชุมสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. เข้าถึงได้จาก [Online]http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf
อนัฏติยา ซาระวงศ์, รชฏ สุวรรณกูฏ และทัศนา ประสานตรี. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้องผู้บริหารโรงเรียน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(71), 158-160.
Glickman, C.D. (2007). Super Vision and Instructional Leadership: A Developmental Approach. Boston: Prarson.