โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัลของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

ธนบดี สอนสระคู
พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจ􀄽ำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะการรู้ดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เพื่อออกแบบและประเมินโปรแกรมเสริมสร้าง
สมรรถนะการรู้ดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 337 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน
แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจ􀄽ำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์สมรรถนะการรู้ดิจิทัลของครูสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการออกแบบและประเมินโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัลของครู ใช้วิธีการแบบผสมผสาน ผลการประเมินความเหมาะสม
ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและความมีประโยชน์ของโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กู้เกียรติ แดงสีดา. (2563). ยุคดิจิทัลกับแนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญมาก ศิริเนาวกุล. (2564). การปฏิวัติระบบการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ. เข้าถึงเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2564 เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มาริษา สุจิตวนิช และเยาวภา บัวเวช. (2563). การรู้เท่าทันสื่อ ประโยชน์และการนำไปใช้. กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2554). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2558). การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเก็บข้อมูลCompetency. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

อติพร เกิดเรือง. (2563). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยยุคดิจิทัล. สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และธรรมาภิบาล: มหาวิทยาลัยชินวัตร.

Bowden. (2007). Seminoles.com. Archived from the original on July 3.