การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่างการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA กับจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ KWL Plus วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 75/75 2. ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL Plus วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3. เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA กับกลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL Plus กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 43 คน และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/14 จำนวน 43 คน โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ DR-TA เรื่องการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน เวลาเรียน 15 ชั่วโมง 2. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนอ่านแบบ KWL-Plus เรื่องการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน เวลาเรียน 15 ชั่วโมง 3. แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษโดยเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ชนิด เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test (Independent sample) ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA และกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL Plus เรื่อง ความเข้าใจในการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ75.72/78.06 และ 75.79/84.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA และกิจกรรมการเรียนรู้แบบKWL Plus เรื่อง ความเข้าใจในการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.57 และ 0.72 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 78.06 และ 84.57
3. หลังจากที่ผู้วิจัยได้นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA และกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL Plus เรื่อง ความเข้าใจในการอ่าน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL- Plus มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ DR-TA อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เขมรัศมี สุบันนารถ. (2555). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KML Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จันทิมา โพธิ์รัตน์. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุไรวรรณ เสาสูงยาง. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถ้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานกับแบบ 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐธิดา กลางประชา. (2555). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้การสอนอ่านแบบ Directed Reading-Thinking Activity (DR-TA). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 37(1), 53-59.
ทรรศนีย์ แก้วนก. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH-Plus ร่วมกับนิทานพื้นบ้านที่มีต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บุญยวีร์ สิมมา. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (BBL). การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยาภรณ์ โคตรชมพู. (2555). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยกลวิธีการสอนอ่าน แบบ DR-TA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พัชรินทร์ แจ่มจำรูญ. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนอ่านแบบปฎิสัมพันธ์ด้วยวิธี KWL-Plus กับวิธีสอนอ่านแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนผดุงนารี. (2562). รายงานประจำปีการศึกษา 2562. มหาสารคาม: ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนผดุงนารี. วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). เทคนิคการสอน. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สมศักดิ์ ภู่วภิ าดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเปน็ ศนู ย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2551). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวดี ภู่ประดิษฐ์. (2546). การอ่านในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุดร วิชัยวงษ์. (2552). ผลการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกลวิธี DR-TA. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Anderson, N. (1999). Exploring Second Language Reading: Issues and strategies. Canada: Heinle and Heinle.
Carr, E. and Ogle, D. (1987). K-W-L Plus: A Strategies for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 30(4), 626-631.
Conner, J. (2004). Instructional Reading Strategies: KWL (Know, Want to Know Learn). [Online]. Available from: http://www.indiana.edu/~l517/KWL.htm. [accessed8 June 2020].
Ruddell, M.R. (2005). Teaching content reading and writing. 4th ed. New Jersey: John Wiley & Sons.
Tierney, R.J., John, E.R. and Ernet, K.D. (1995). Reading Strategies and Practices. 3rd ed. Massachusetts: Allyn and Bacon.