ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ บริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ กล่มุ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 283 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 61 คน และครู จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่น โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ.965 และ.932 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดอำนาจเจริญโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับที่สูงมาก (rxy=.817**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (X5) ด้านการกระตุ้นการใช้สติปัญญา (X3) ด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (X1) และด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล (X4) ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอำนาจเจริญ โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้
สมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ
Y´ = 1.032 + 0.285X5 + 0.178X3 + 0.187X1 + 0.129X4
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z´y = 0.348ZX5 + 0.219ZX3 + 0.222ZX1 + 0.156ZX4
Downloads
Article Details
References
โกวัฒน์ เทศบุตร. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชา 0501703 ภาวะผู้นำทางการศึกษา. มหาสารคาม: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิรวรรณ อังศุชวาลวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองทุ่งสง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
เชาวนี อยู่รอด. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ. ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
ฐิตารีย์ ภูขามคม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเสริมสร้างพลังอำนาจและบรรยากาศในองค์การกับการดำเนินงานโรงเรียนเอกชนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฐิริญญา พรหมศร. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ณฐวัฒน์ พระงาม. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก, 8(2),13-23.
ธีรสรรค์ สาระคำ และหทัย น้อยสมบัติ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 122-140.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประนอม แมนมาศวิหค. (2553). องค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ไพศาล ศิวเวทกุล. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำการ: ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งอรุณ รังรองรตั น์. (2556). ปจั จยั ทีมี่อทิ ธิพลตอ่ สมรรถนะผูบ้ ริหารสถานศกึ ษาขัน้ พื้นฐานกรงุ เทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ละออ จันทร์ชุม และรวีวัตร์ สิริภูบาล. (2560).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 4(1), 64-69.
วรรณที ศรีโนนยาง สมคิด สร้อยน้ำและนวัตกร หอมสิน. (2562). วิจัยเรื่องปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 333-351.
สายใจ สีแจ้ เก็จกนก เอื้อวงศ์ และนงเยาว์ อุทุมพร. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 9(2), 255-269
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บุ๊ค พอยท์.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2574. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
สุทิน สุทธิอาจ. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2554). หลักการทฤษฎีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.
Bass, B.M. & Avolio, B.J. (1990). Transformational leadership development. Pola Alto, California: Consulting Psychologists.
Bass, B.M., & Avolio, B.J. (1994). Improving Organization Effectiveness Trough Transformational Leadership. Thousand Oaks: Sage.