การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 2) พัฒนาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 442 คน และระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทาง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับสูงทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับสูงมากทุกด้าน และ 2) แนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ประกอบด้วย1) การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับว่ามีภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสูง เพื่อสร้างความตระหนัก 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 3) การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารควบคู่การปฏิบัติงานในสถานศึกษา
Downloads
Article Details
References
บญุ ชม ศรสี ะอาด. (2556). วิธีการทางสถติ สำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พมิ พค์ รั้งที่ 5). กรงุ ทพฯ: สวุ รี ิยาสาส์น.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. (2520). พระบรมราโชวาท, พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยรามคาแหง. วันที่ 8 กรกฎาคม 2520. สืบค้นข้อมูลวันที่ 10 มิถุนายน 2564, จาก http://www.royin.go.th/?page_id=590
วิเชียร วิทยอุดม. (2553). ภาวะผู้นำ Leadership. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ.
สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 1-15.
สุเทพ ปาลสาร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2559. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564 เข้าถึงได้จากhttp://www.secondary11.go.th/doc/plan/obec_policy_2559.pdf
ศัจนันท์ แก้ววงศ์ศร. (2557). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของคณาจารย์มหาวิทยาลัยในภาคใต้ตอนล่าง.บทความวิจัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Hester, J.P. (2003). Ethical Leadership for school administrators and teachers. North Carolina: Mc Farland.
Josephson Institute of Ethics. (2009). Ethical leadership outcomes student leader learning outcomes (SLLO) project. Retrieved May 8, 2021, from http://sllo.tamu.edu/rubrics
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.