ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารเป็นกลไกสำคัญที่จะเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของครูให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนของครู จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา 3) ศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการจัดการเรียนรู้ของครู 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 57 คน และครู จำนวน 335 คน รวมทั้งสิ้น 392 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำแนกเป็น 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จำนวน 60 ข้อ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ด้านละ 5 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .60 - .85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครู มีทั้งหมด 60 ข้อ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ด้านละ 5 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .58 - .86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที แบบ Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน (2) การจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน (3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการจัดการเรียนรู้ของครู มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (4) ตัวแปรภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ร่วมส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 3 ตัวแปรได้แก่ ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับครู นักเรียนและชุมชน (X6) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ (X3) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน (X2) สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 43 สามารถเขียนสมการ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y' = 1.87 + .29X6 + .19X3 + .07X2
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zy' = .43Z6 + .25Z3 + .11Z2
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2562 (ฉบับที่ 4). บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด.
กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ใน สถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร
กฤษฏ์ น้อยแก้ว. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีหลักกัลยาณมิตรธรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เจริญพงษ์ ชมภูนุช. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร
นันทนัช สุขแก้ว และคณะ. (2563). ทักษะครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัย (Symposium) ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12 (70-79), ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10 (แก้ไขเพิ่มเติม). สุวีริยาสาส์น.
ปวีณา บุทธิจักร์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
มะไซดี อับดุลกอเดร์. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานราธิวาส. [การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ลัดดาวัลย์ สะอิ้งทอง. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อรอุษา วงศ์จรัสเกษม. (2562). ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. Wiley & Son.