การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 316 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น และระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ การสร้างการเปลี่ยนแปลง การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม การมององค์รวม การสร้างทีมที่เข้มแข็ง และการพัฒนาปัจเจกบุคคล ตามลำดับ
2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา มี 5 หน่วยการเรียนรู้ (Module) 4) วิธีการและกิจกรรมการพัฒนา มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การสร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำร่วม ขั้นที่ 3 การพัฒนาควบคู่ไปกับการปฏิบัติ และ 5) การประเมินผล
Downloads
Article Details
References
กันตธี เนื่องศรี. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ชลนภา อนุกุล. (2557, 18 กรกฎาคม). ผู้นำร่วม ผู้นำแห่งอนาคต. จิตวิวัฒน์. http://jitwiwat.blogspot.com/2014/07/blog-post_18.html
ฐิติกาญจน์ อัตศรกุล. (2564). หลากสี ต่างเลนส์ ว่าด้วยแนวคิดทฤษฎีนำร่วมเคลื่อนสังคม. นครปฐม: โครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนัญธร เปรมใจชื่น. (2561, 29 มีนาคม). ประมวลการเรียนรู้: เวทีบ่มเพาะภาวการณ์นำร่วมสำหรับพลเมืองรุ่นใหม่. ผู้นำแห่งอนาคต : Leadership for the Future. https://www.leadershipforfuture.com/ประมวลการเรียนรู้จาก-เว.html
บัณฑิต ลักษณะภาวรรณ. (2562). ภาวะผู้นำพลังร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. ThaiLIS.
ประเวศ วะสี. (2559). ระบบการสร้างผู้นำสำหรับประเทศไทยยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
มิชิตา จำปาเทศ รอดสุทธิ. (2549, 21 กันยายน). Collective Leadership. SoftBankThai. https://www.softbankthai.com/Article/Detail/843/Collective-Leadership.html
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2565-2569 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุภัคฉวี เอี่ยมสำอาง. (2558). การศึกษาภาวะผู้นำร่วมของหัวหน้างานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ThaiLIS.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไอยเรศ บุญฤทธิ์. (2564). ทวิวัจน์การวิจัย เรื่องเล่าจากนักวิทยาการเรียนรู้สู่กระบวนทัศน์การทำงานในชุมชน. นครปฐม: โครงการผู้นำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Alsaedi, F. (2022). The important role of collective leadership in the face of change: Literature review. Open journal of leadership, 11(1), 1-12.
Fox, E. M., & Urwick, L. F. (1977). Dynamic administration: The collected papers of Mary Parker Follett. Hippocrene Books.
Greenleaf, R. K. (2002). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. Paulist Press.
Health and Social Care. (2017). HSC Collective leadership strategy: Health and wellbeing 2026: Delivering together. Department of Health. Northern Ireland.
Kellogg Foundation. (2007). The collective leadership framework: A workbook for cultivating and sustaining community change. Takoma Park.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Kuenkel, P., Kühn, E., Stucker, D., & Williamson, D. F. (2021). Leading transformative change collectively. Routledge.
O'Neill, C., & Brinkerhoff, M. (2017). Five elements of collective leadership for early childhood professionals. Redleaf Press.
Trafford, D., & Boggis, P. (2017). Beyond default: Setting your organization on a trajectory to an improved future. LID Publishing.
West, M. A., Eckert, R., Steward, K., & Pasmore, W. A. (2014). Developing collective leadership for health care (Vol. 36). King's Fund London.