การดำเนินงานเงินยืมทดรองราชการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

จุติรัช ภูครองเพชร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินงานเงินยืมทดรองราชการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 124 คน ด้วยแบบสอบถามลักษณะความคิดเห็นต่อการดำเนินงานเงินยืมทดรองราชการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นรูปแบบของคำถาม จำนวน 27 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานเงินยืมทดรองราชการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบการยืมเงินทดรองราชการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคามเห็นด้วยและสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก บุคลากรมีความเข้าใจต่อกระบวนการยืมเงิน และการชดใช้เงินยืม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงการคลัง (2562) ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การ จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ.2562 หมวด 5 การเบิกจ่ายเงินยืม ของส่วนราชการ

เกียรติคุณ เรืองสุวรรณ (2560) การวิเคราะห์ระบบบริหารเงินทดรองราชการ : กรณีการศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระหว่างปีงบประมาณ 2553- 2557, วารสารการเมืองการปกครอง ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม –สิงหาคม 2560.

ทีปกา รอบคอบ (2563) การพัฒนาระบบการติดตามลูกหนี้เงินยืม ด้วยโปรแกรมระบบ Grow Account ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Development of loan tracking system by Grow Account program of Nakhon Pathom Rajabhat University.

บุญชม ศรีสะอาด (2556) การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญญาภา สิงห์ทองชัย และคณะ (2556) กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพงานด้วยระบบติดตามเงินยืม ทดรองอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2552) ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยเงินทดรองราชการของ บุคลากรจากเงินรายได้ พ.ศ. 2552.

สุธาสินี บุญประดิษฐ์ และวิรภัทร อุดมศรี. (2561) กองคลัง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ : การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานระบบบริหาร ลูกหนี้เงินยืม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ