ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง - เป้าหมาย กับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง – เป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง – เป้าหมายกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2567 โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน ในการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน จากนั้นทำการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง – เป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ด้าน
1) ด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ จำนวน 5 ข้อ 2) ด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน จำนวน 5 ข้อ 3) ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม จำนวน 5 ข้อ 4) ด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งผลสำเร็จ จำนวน 5 ข้อ และเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ด้าน 1) การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 7 ข้อ 2) การบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ จำนวน 6 ข้อ 3) การวัดผลประเมินผลการเรียน จำนวน 6 ข้อ 4) การพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ จำนวน 5 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.276 – 0.797 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง – เป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.18) 2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.42) 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง – เป้าหมายกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวก (r เท่ากับ 748) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). อมรการพิมพ์.
ธีร์ธนพัชร ร้อยดาพันธุ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
นถมล จิตรเอื้อ, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์ (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1738-1754. https://he02.tci -thaijo.org/
index.php/ Veridian-E-Journal/article/view/100347
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การบริหารวิชาการ.กรุงเทพมหานคร.
บุญชม ศรีสะอาด (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวิริสาสน์.
บุสตามัน กามะ. (2564). ภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง-เป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภาวิตา ฮั่นสกุล. (2561). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง – เป้าหมายกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560, 6 เมษายน). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เล่ม 134 ตอน 40 ก.
เริงฤทธิ์ คำหมู่. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วินนา พลชำนิ และสุกัญญา สุดารารัตน์ (2565). ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2),463-474. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/267090
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สำนักพิมพ์กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี: ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research methods in education (8th ed.).Routledge.
House, R. J., & Dessler, G. (1974). The path-goal theory of leadership: Some post hoc and a priori tests. In J. G. Hunt & L. L. Larson (Eds.), Contingency approaches to leadership. Southern Illinois University Press.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. McGraw-Hill.