ภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคผันผวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคผันผวน 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคผันผวน จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคผันผวน โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครู จำนวน 338 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีจับฉลาก เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.6 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .972 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ เปรียบเทียบรายคู่ด้วย LSD และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคผันผวน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคผันผวน จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงานต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามตัวแปรขนาดของสถานศึกษา มีความคิดเห็นในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 3) ผลการประมวลข้อเสนอแนะของภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคผันผวน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กร บุคลากร และตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา นอกจากนี้ผู้บริหารควรมีบุคลิกภาพดี เป็นแบบอย่างที่ดี มีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถควบคุมอารมณ์ในทุกสถานการณ์ และตัดสินใจอย่างยุติธรรม โปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรในองค์กร
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิตติ หงษ์เวียงจันทร์ และมิตภาณี พุ่มกล่อม. (2567). ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วารสารมจร กาญจนปริทรรศน์, 4(2), 90–103. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Kanchanaeditor/article/view/274281
จิระพงษ์ ชมกลิ่น, นันทนิตย์ ท่าโพธิ์, สุรีรัตน์ บุญจันทร์, และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2567). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(8), 399–411. https://so02.tcithaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/269327
ณฐภัทร อินทรปรีดา, ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, และผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2565). ภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการงานในโลกแห่งความผันผวน. วารสารราชพฤกษ์, 20(2),16–28. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Ratchaphruekjournal/article/view/256517
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, และจิรนันท์ ใหญ่ลำยอง. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่และวิถีถัดไปในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารพุทธมัคค์, 7(1), 204–218. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bdm/article/view/248391
ณัฏฐ์มนกาญน์ กลิ่นน้อย, และทัศพร เกตุถนอม. (2566). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มพัฒนาการศึกษาที่ 8 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(10), 211–221. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/272920
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พระอธิการกิตติศักดิ์ สุธีโร, และสยาม ราชวัตร. (2562). โยนิโสมนสิการ: หลักการคิดที่เหมาะสมกับคนไทยในยุค 4.0. วารสารพุทธศิลปกรรม, 2(1), 87–101. https://so09.tci.thaijo.org/index.php/barts/article/view/1648
พัฒนศักดิ์ อภัยสม, ณัฐรดา คณารักษ์, ดนุดา ณ กาฬสินธุ์, อดินันท์ แก้วนิล, ชวนคิด มะเสนะ, และนิรมิต ชาวระนอง. (2565). แบบภาวะผู้นำทางการศึกษายุคใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 1–12. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/255133
ศศิวิมล มาลาพงษ์. (2567). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารวิจัยวิชาการ, 7(3), 75–86. https://doi.org/10.14456/jra.2024.61
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2566—2570.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. สำนักงานเลขานุการ ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ สิบสาม พ.ศ. 2566 -2570 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/ article_attach/article_file_20230307173518.pdf.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 28–40. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umtpoly/article/view/246302
Bagwell, J. (2020). Leading through a pandemic: Adaptive leadership and purposeful action. Journal of School Administration Research and Development, 5(S1), 30–34. https://www.ojed.org/index.php/JSARD/article/view/2781
Cuofano, G. (2024). What is adaptive leadership? Adaptive leadership in a nutshell. FourWeekMBA. https://fourweekmba.com/adaptive-leadership/
Heifetz, R. (2020). The practice of adaptive leadership: Tools and tactics for changing your organization and the world. Harvard Kennedy School. 79 John F. Kennedy Street Cambridge, MA.
Hoerudin, C. W. (2020). Adaptive leadership in digital era: Case study of RIDWAN KAMIL. CosmoGov, 6(1), 89–98. http://jurnal.unpad.ac.id/cosmogov/ article/view/26793
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/001316447003000308
Miller, A.E. (2019). Leadership theory analysis: Adaptive leadership teaching course. Azusa Pacific University