การพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ธนาภา บุดดี
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชัยภูมิกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 59 คน และครู จำนวน 529 คน รวมจำนวน 590 คน ได้มาโดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 องค์ประกอบ 18 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย (1) การตระหนักรู้ในตนเอง มี 3 ตัวบ่งชี้ (2) การควบคุมอารมณ์ตนเอง มี 3 ตัวบ่งชี้ (3) การสร้างแรงจูงใจในตนเอง มี 5 ตัวบ่งชี้ (4) การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มี 3 ตัวบ่งชี้ และ (5) การมีทักษะทางสังคม มี 4 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า Chi-square (2) = 90.000 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ, df = 73, P-Value = 0.086, 2/df = 1.23, TLI = 0.998, GFI = 0.984, AGFI = 0.957 และ RMSEA = 0.020

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุดดี ธ. . ., & ภูผายาง เ. . . (2025). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 16(1), 157–174. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/567
บท
Research Article

References

กรกนก วงศ์กัลยา. (2566). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/

/1/630620026.pdf

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า 67-68.

ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3248/1/59252309.pdf

นงค์ลักษณ์ โชติวิทยธานินทร์. (2564, 26 มกราคม), ความฉลาดทางอารมณ์ (EI – Emotional Intelligence). สยามรัฐ.

บุษยมาส ผาดี. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. https://etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-366-file01-2021-01-29-13-22-29.pdf

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 3.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา : กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

วิชญพงศ์ ไชยธิกุลโรจน์, ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล และทิวัตถ์ มณีโชติ. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม. วารสารการวัดประเมินผลวิจัยและสถิติทางสังคมศาสตร์. 2(1), 17-26. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/253453

วรรษพร อยู่ข้วน, กมลมาลย์ ไชยศิริธัญญา และชวนชม ชินะตังกูร. (2566). ความฉลาดทางอารมณ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(1), 190-204. https://so07.tcithaijo.org/index.php/dsr/article/view/2414

สมพร ปานยินดี. (2558). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดการความหลากหลาย : หลักฐานเชิงประจักษ์ของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579. พริกหวาน กราฟฟิค.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. (ม.ป.ป.). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2567. https://drive.google.com/file/d/1vpgdvDGZUC93PPF_3Qvtaj9 wJyYAKT53/view?usp=sharing

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (ม.ป.ป.). ระบบบริการข้อมูลภาครัฐ BIG DATA. http://209.15.108.134/bigdata/index.php

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ปีการศึกษา 2567. https://data.chaiyaphum3.go.th

อภินุช นาเลาห์. (2565). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. https://kkuir.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/37962

อังค์วรา สายแสงจันทร์. (2565). โมเดลสมการโครงสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

https://kkuir.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/37336

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. (4thed). Harper & Row.

Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. Bantum Book.

Goleman, D. (1998). Working with emotional intelligence. Bantam Books.

Kim, J.O., & Muclle, C.W. (1987). Factor analysis: Statistical methods and practical issues. Sage Publication, Inc.

Kline, R. B. (2016). Methodology in the social sciences. Principles and practice of structural equation modeling (4th ed.). Guilford Press.

Mayer, J.D. & P. Salovey. (1997). What is emotional intelligence?. In emotional development