การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชั่นของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

Main Article Content

ธีรศักดิ์ ม่วงเพชร
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชั่นของบุคลากรในสถานศึกษา และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชั่นของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ประชากร จำนวนทั้งหมด 2,117 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 500 คน โดยกำหนดขนาดตัวอย่างตามอัตราส่วน 10:1 สำหรับพารามิเตอร์ 50 ค่า ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อให้ได้องค์ประกอบเชิงยืนยัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง
 
ผลวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชั่นของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 มีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ ได้แก่      (1) การสร้างทีมงานของบุคลากร (2) การสอนงานและให้คำปรึกษา (3) การสร้างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (4) การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร และ (5) การสร้างโอกาสและความเสมอภาค 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชั่นของบุคลากรในสถานศึกษามีค่าดัชนีกลมกลืนของโมเดลการวัดองค์ประกอบการจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชั่นของบุคลากรในสถานศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ^2= 91.560, df = 76, P-Value = 0.108, CFI = 0.997, TLI = 0.996, GFI = 0.977, AGFI = 0.959, RMSEA = 0.020   

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ม่วงเพชร ธ. . ., & ภูผายาง เ. . . (2025). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชั่นของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 16(1), 139–156. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/565
บท
Research Article

References

จีราพร นักปราชญ์. (2559). การบริหารความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. https://kkuir.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/29888

เจนจิรา เทียนวิจิตร. (2564). แรงจูงใจในการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการทำงานของกลุ่มคน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

ชาญชัย ชัยสุขโกศล, อัจฉรีย์ อำไพกิจพาณิชย์, นริศ มณีขาว และรุจิรัตน์ ดุรงค์วิริยะ. (2565). การศึกษาและพัฒนาการสื่อสารด้วยความเข้าใจระหว่างคนต่างรุ่นในองค์กร. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).

ชูชัย สมิทธิไกร, และ ภัทรานิษฐ์ โชติพิพิทย์กุล. (2564). อิทธิพลของการจัดการความหลากหลายด้านช่วงอายุที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเจเนอเรชันวาย: แบบจําลองการสื่ออิทธิพลที่มีตัวแปรกํากับ. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 13(1), 81-111. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HRODJ/article/view/242982

ณัฐชญา เพ็งธรรม. (2565). โมเดลสมการการจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชันที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. https://kkuir.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/37526

ณิชกุล เสนาวงษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซดในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม]. https://e-research.siam.edu/kb/a-study-of-behavior-for-using-of-social-media/#

ทวีป มหาสิงห์. (2563). การก่อรูป "ทฤษฎีความยุติธรรม" ของจอห์น รอลส์. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสน-ศาสตร์, 11(พิเศษ), 1-28. https://so05.tcithaijo.org/index.php/polscicmujournal/article/download/240902/168304

พงศ์พิษณุ ตางจงราช. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการความหลากหลายทางเจเนอเรชันของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. https://kkuir.kku.ac.th/jspui/handle/123456789/37659

พัฒนกร ปานฑสูตร. (2563). การจัดการความหลากหลายของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. https://sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/24503/DR_พัฒนกร_ปานฑสูตร

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2564). ผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีม. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(1), 1–7. https://so02.tcithaijo.org/index.php/edunsrujo/article/view/253748

ยุทธศักดิ์ อินทฤๅกูร สวัสดิ์วงศ์ชัย, พรเทพ เสถียรนพเก้า และวัลนิกา ฉลากบาง. (2565). การพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(3), 10–25. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/soc-rmu/article/view/254181

Akpapuna, M., Choi, J., Johnson, R., & Lopez, A. (2020). Encouraging multiculturalism and diversity within organizational behavior management. Journal of Organizational Behavior Management, 40(3–4), 186–209. https://doi.org/10.1080/01608061.2020.1832014

Bentler, P. M., & Chou, C. P. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological Methods & Research, 16(1), 78–117. https://doi.org/10.1177/0049124187016001004

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. (4th ed). Harper & Row.

Eby, L. T., Allen, T. D., Evans, S. C., Ng, T., & Dubois, D. (2008). Does mentoring matter? A multidisciplinary meta-analysis comparing mentored and non-mentored individuals. Journal of Vocational Behavior, 72(2), 254–267. https://doi.org/10.1016/j.jvb.2007.04.005

Jones, G., Chirino Chace, B., & Wright, J. (2020). Cultural diversity drives innovation: Empowering teams for success. International Journal of Innovation Science, 12(3), 323–343. https://doi.org/10.1108/IJIS-04-2020-0042

McShane, S. L., & Von Glinow, M. A. (2018). Organizational behavior: Emerging knowledge global reality. (8th ed). McGraw-Hill Education.

Rudolph, C. W., Rauvola, R. S., Costanza, D. P., & Zacher, H. (2021). Generations and generational differences: Debunking myths in organizational science and practice and paving new paths forward. Journal of Business and Psychology, 36(1), 945-967. https://doi.org/10.1007/s10869-020-09715-2

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2016). A beginner's guide to structural equation modeling. (4th ed). Lawrence Erlbaum Associates.

Verasamy, N., Abdul Majid, A. H., & Jamaluddin, N. A. (2020). Generational diversity, personal attributes and organizational commitment among employees of corporate consultants. Journal of Management and Entrepreneurship, 22(1), 65-72. https://doi.org/10.9744/jmk.22.1.65-72