แนวทางการป้องกันและการแก้ปัญหาพฤติกรรมรังแกกันของนักเรียนแผนการเรียนกีฬา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ

Main Article Content

สุกัญญา ฉิมพนาม
วรรณ์วิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง
สุดารัตน์ สารสว่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะและระดับความรุนแรงของพฤติกรรมรังแกกันของนักเรียน 2) ศึกษาระดับการรับรู้เมื่อเกิดพฤติกรรมรังแกกันของนักเรียน และ 3) แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาพฤติกรรมรังแกกันของนักเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรคือ นักเรียนแผนการเรียนกีฬา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามพฤติกรรมรังแกกันของนักเรียน จำนวน 34 ข้อ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะและระดับความรุนแรงของพฤติกรรมรังแกกัน โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านพบว่า การถูกรังแกโดยคนอื่นที่พบมากสุด คือ ถูกกระทำด้วยความรุนแรงขณะเล่นหรือซ้อมกีฬา ความรุนแรงของการเกิดพฤติกรรมการรังแกอยู่ในระดับน้อย (μ= 2.41) และพฤติกรรมรังแกผู้อื่นที่พบมากสุด คือ ชก เตะ ผลัก หรือตบตี ตามร่างกายของผู้อื่น ความรุนแรงของการเกิดพฤติกรรมการรังแกอยู่ในระดับน้อย (μ= 2.57) 2) การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมรังแกกันในภาพรวมมีระดับการรับรู้ค่อนข้างน้อย 3) แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาพฤติกรรมรังแกกันในนักเรียนแผนการเรียนกีฬา พบว่ามี 6 กลุ่ม ได้แก่ การพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์แก่ผู้เรียน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเท่าเทียม การกำหนดและบังคับใช้กฎระเบียบภายในโรงเรียน การมีบทบาทของครูและการเฝ้าระวัง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากผู้ปกครอง ผู้ฝึกสอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง และ การจัดการเป็นรายกรณี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฉิมพนาม ส. ., สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ว. ., & สารสว่าง ส. . (2025). แนวทางการป้องกันและการแก้ปัญหาพฤติกรรมรังแกกันของนักเรียนแผนการเรียนกีฬา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา, 16(1), 109–123. สืบค้น จาก https://so20.tci-thaijo.org/index.php/JAD/article/view/562
บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2567). 7 สาเหตุที่ทำให้เด็กออกนอกระบบการศึกษา. https://www.eef.or.th/infographic-7-reasons/

เชาวรัตน์ เขมรัตน์ ,สุพัชริน เขมรัตน์ และ อภิลักษณ์ เทียนทอง. (2565). อิทธิพลของความเชื่อมั่นทางกีฬาที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 11(3), 24-32. https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jstku/article/view/5134

ณัฎฐาภรณ์ โสกัณฑัต. (2566). พฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียนในประเทศไทยผ่านมุมมองอาชญาวิทยา. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 16(3), 35-49. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/view/260830

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). การบูลลี่. ศูนย์วิชาการแฮปปี้โฮม. https://www.happyhomeclinic.com/mh11-bullying.html

ธณัศมนต์ จั้นอรัญ, สุณีย์ กัลป์ยะจิตร, พงษ์ธร ธัญญสิริ และ ศุภกร ปุญญฤทธิ์. (2560). การรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ถูกข่มเหงรังแกบนไซเบอร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/59714/1/5885981834.pdf

บงกช จันทร์สุขวงค์. (2562). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬาสังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1548/3/59032415.pdf

รังสรรค์ โฉมยา. (ม.ป.ป.) สเกลคู่ มิติใหม่การใช้แบบวัดมาตราส่วนประมาณค่าลิเคิร์ท. ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. http://thesis.swu.ac.th/swuarticle/Ed_Tech/Ed_Techv13n1p145.pdf

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง. (2562). การป้องกันและการจัดการรังแกกันในโรงเรียน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 27(2), 133-144. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/204156

ศุภรดา ชุมพาลี และ ทัศนา ทวีคูณ. (2562). พฤติกรรมรังแกกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(3), 128-148 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/232462

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2561). ปัญหาการรังแกกัน (Bullying) ในสถานศึกษา. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/536994

สมบัติ ตาปัญญา. (2549). รายงานการสำรวจปัญหาการรังแกกันของนักเรียน. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/_kaarsueksaaephuuephathnaaruupaebbaenwthaangka.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อนุรักษ์ จันทร์รอด. (2565). การศึกษาความรุนแรงของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งกันของนักเรียนในโรงเรียนอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1), 49-59. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jclmd_psru/article/view/257008

Freud, S. (1962). Further remarks on the neuro-psychoses of defence. https://www.lacanonline.com/2010/05/reading-further-remarks-on-the-neuro-psychoses-of-defence/

Olweus, D. (1996). The revised olweus bully/victim questionnaire. Research Center for Health Promotion (HEMIL Center), Bergen, University of Bergen. https://www.scirp.org/reference/referencespapers?referenceid=1795954

Laura Wood, Jennifer Smith, Kris Varjas, and Joel Meyers. (2017). School personnel social support and nonsupport for bystanders of bullying: Exploring student perspectives. Journal of School Psychology, 61, 1-17. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0022440516300735