ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู จำนวน 264 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) และสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดสถานศึกษา จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลาก ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ .951 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าเท่ากับ .957 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
References
จินดา สรรประสิทธิ์. (2563). การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุรีพร มุลนี. (2565). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 [การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
ชนิกานต์ ศักดาณรงค์ และสุภาวดี วงษ์สกุล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคม. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 10(3), 435–446.
ชานนท์ กุสุริย์. (2566). การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 7(2), 184–207.
นริศรา กาฬเพ็ญ และสรรฤดี ดีปู่. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 11(1), 133–146.
นุชนาถ สุทธการ. (2565). รูปแบบการนิเทศโรงเรียนบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการ จัดการ เรียนรู้ของครู [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เนติศักดิ์ มานะพิมพ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น(พิมพ์ครั้งที่9). สุวิริยาสาส์น.
พงศธร สารศรี. (2566). การศึกษาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(2), 27–39.
พัชรา โพธิ์ใคร. (2567). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูกลุ่มโรงเรียนหนองหาน 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารการบริหารการจัดการและการพัฒนาที่ยั่งยืน, 2(1), 17–34.
มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รังสฤษฎ์ กลิ่นหอม. (2567). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 5(1), 27–39.
วรรณกร ปานะโปย, สายัณห์ ผาน้อย, และกฤษฎาพันธ์ พงษ์บริบูรณ์. (2567). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สหวิทยาเขตหนองสองห้อง–พล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 8(1), 309–322
ศุภลัคน์ รัตนบุรี และ สุนทรี วรรณไพเราะ. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 18(1), 36–50.
เศรษฐพงศ์ นันภิวงค์. (2563). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลของการบริหาร วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตดอยสามหมื่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สมเดช ใสสิน. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองพะเยา [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. (2567). แผนปฏิบัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับทบทวนปี2567). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. https://drive.google.com/file/d/1lEGj8pXgg1EDOZR7Zw8vcQKM02Gcojcq/view
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf
สุชารัตน์ ลูกเมือง. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสตูล [สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุทธิศักดิ์ โคกคาน. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
หทัยชนก แช่เฮ้า. (2560). กระบวนการนิเทศภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของพนักงานครูสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อรรถพล เทินสะเกษ และยุวธิดา ชาปัญญา. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(3), 199–207.
Cansoy, R., Parlar, H., and Polatcan, M. (2022). Collective teacher efficacy as a mediator in the relationship between instructional leadership and teacher commitment. International Journal of Leadership in Education, 25(6), 900–918.
Hunt, L. (2020). High School Principals’ Instructional Leadership Practices to Reduce School Violence [Unpublished Dissertation Doctor of Education]. Walden University.
Ma, X., and Marion, R. (2021). Exploring how instructional leadership affects teacher efficacy: A multilevel analysis. Educational Management Administration & Leadership, 49(1), 188–207.
Villa, F. T., and Tulod, R. C. (2021). Correlating Instructional Leadership Practices of School Administrators with Teachers Competencies. Linguistics and Culture Review, 5(1), 83–99.
Wahab, JA, Mansor, AZ, Hussin, M., and Kumarasamy, S. (2020). Headmasters’ Instructional Leadership and Its Relationship with Teachers Performance. Universal Journal of Educational Research, 8(11), 97–102.