การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 335 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินโปรแกรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัย พบว่า
1.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา มีสภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ
2.โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 5 โมดูล 4) วิธีดำเนินการพัฒนา ยึดหลัก 70:20:10 ประกอบด้วย การปฏิบัติงานจริงในสถานศึกษา การศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กมล รอดคล้าย. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ไชยพร สำราญสุข. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปรมะ อะนันทวรรณ. (2565). ภาวะผู้นำองค์กร : ในทัศนะตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์ วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด, 1(2),19-32. https://so14.tcithaijo.org/index.php/jssmcure/article/view/297
ประชา โสภัณนา. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชรินทร์ สงครามศรี. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วรวุฒิ อันปัญญา. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วันเพ็ญ ดาราวงศ และชัชชญา พีระธรณิศร. (2566). การพัฒนาภาะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ เขต 3. วารสารการ บริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 9(1): 142-150. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/258617
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2554). แนวทางการศึกษาภาวะผู้นำ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 3(5), 28-40. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10001/9035
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. สำนักพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. และนวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 183-195 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/243396
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (2566). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ 2566 – 2570) ของ สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2. http://www.ret2.go.th/ict/
เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุชัย วันศรีรัตน์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรือนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัยมศึกษาร้อยเอ็ด. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Bass, B.M. (1997). Leadership and Peformance Beyond Exception. New York : The Free Press.
Bass, B.M. and B.J. Avolio. (1994.) Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Thousa and Oaks: Sage.
Bass, B.M. and R.E. Riggio. (2006.) Transformational Leadership. 2nded. Mahwah, New
Jennings, C., & Wargnier, J. (2015). Effective learning with 70:20:10. The new frontier for the extended enterprise. Retrieved from https://alberonpartners.com/wp- content/uploads/2019/09/Alberon_Wargnier_2011-70-20-10_vEN.pdf
Riaz, A. and Haider, M.H. (2010). Role of transformational and transactional Leadership on job satisfaction and career satisfaction. Business and Economic Horizons, 1, 29-38.