การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เรียนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 หมู่เรียน นักศึกษา 28 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความรับผิดชอบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และ 4) แบบบันทึกสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น คือ“SPIRIT” ได้แก่ (1) กำหนดเป้าหมาย (Set goal) (2) ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ (Plan) (3) นำไปปฏิบัติ (Implement) (4) ตรวจสอบและปรับปรุง(Review) (5) ประเมินบ่งชี้ความสำเร็จ (Identify) และ (6) ยอมรับปรับเปลี่ยน (Transform) 2) ผลการใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษา ประกอบด้วย 2.1) นักศึกษามีคะแนนการประเมินความรับผิดชอบของตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 2.3) ผลจากการสะท้อนคิดพบว่า นักศึกษาได้คิดไตร่ตรองและสื่อสารเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตนเองหลังการปฏิบัติภาระงานที่แสดงออกถึงการรู้งาน รู้ตน รู้กลวิธีในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง นำมากำหนดเป้าหมายเพื่อวางแผน ตรวจสอบ ประเมินผล และยอมรับผลของการปฏิบัติงานแล้วนำมาปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ของตนเองให้พัฒนาต่อยอดไป
Downloads
Article Details
References
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 21). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ทัศนา ประสานตรี. (2555). การพัฒนารูปแบบความเป็นครูของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(3), 25-32. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/54446
นงเยาว์ อุทุมพร. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 14(2), 105-119. https://ir.stou.ac.th/bitstream/123456789/487/1/44241.pdf
ปริญา ปริพุฒ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้เรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปารีญา ราพา และ ฉัตรวิไล สุรินทร์ชมพู. (2565). การพัฒนาความรับผิดชอบด้านการเรียนแบบออนไลน์โดยการใช้โปรแกรมการกำกับตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 799-808. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/267123
ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสะท้อนคิดของนักศึกษาครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 25(1), 188-205. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/199140
ปรีชา ธนะวิบูลย์ จีรภัทร อาดนารี และนงเยาว์ อุทุมพร. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 9(1), 1-16. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/DRURDI/article/view/257448
ไพฑูรย์ สินลารัตน์, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ และไสว ฟักขาว. (2562). คิดรับผิดชอบ : สอนและสร้างอย่างไร (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56ง . หน้า 12.
รานี ลิ้มเจริญ. (2564). ผลของการใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชิงกระบือ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(104), 82-93. https://eptb.swu.ac.th/jemeptb_vol-38-104/
สายใจ ระดมสุข. (2566). การศึกษาความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วารสารเกษมบัณฑิต, 24(1), 47-64. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/242063