การวิเคราะห์จำแนกการรับรู้ความสามารถตามกรอบ TPACK ที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาผ่าน TCAS ของนักศึกษาครู : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครู 2) วิเคราะห์จำแนกการรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครู และ 3) สร้างสมการจำแนกการรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพคที่ส่งผลต่อการเข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 110 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สัดส่วน และทำการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้สาขาวิชาเป็นหน่วยในการสุ่ม หลังจากนั้นจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือนักศึกษาที่เข้าศึกษาผ่านระบบ TCAS รอบ 1 Portfolio จำนวน 60 คน และ รอบ 2 รับตรง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .925 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความสามารถของนักศึกษาครูด้านการบูรณาการความรู้ตามกรอบแนวคิดทีแพค อยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในสมการจำแนก 4 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้ในเนื้อหา(CK) ความรู้เทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้วิชาครูและความรู้ด้านเนื้อหา (TPACK) ความรู้เทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้วิชาครู (TPK) และความรู้เทคโนโลยีบูรณาการกับความรู้ด้านเนื้อหา (TCK) ผลการวิเคราะห์พบว่าทั้ง 4 ตัวแปรเป็นตัวแปรสำคัญในการจำแนกกลุ่ม (Wilks’Lambda = .793 ,p < .05) โดยสามารถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 77.50 ซึ่งความรู้ในเนื้อหา (CK) มีน้ำหนักในการจำแนกสูงสุด (.594) 3)สมการจำแนกในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน เป็น ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = -6.250 + 1.297CK -1.172TCK +.612TPK + .869TPACK
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zy = .594CK -.580TCK +.483TPK +.537TPACK
Downloads
Article Details
References
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2567, พฤษภาคม). รายงานการประชุมคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุริยาสาส์น.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. ตักศิลาการพิมพ์.
ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS). (2566). https://www.mytcas.com/
รายงานประจำปี 2566: ภารกิจและการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา. (2566). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ลิลลา อดุลยศาสน์ และสุภา ยธิกุล. (2561). การวัดระดับ TPACK (Technological Pedagogical and Content Knowledge) และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับ TPACK ของครูคณิตศาสตร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). https://plan.bru.ac.th
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2566). การเลือกใช้สถิติพื้นฐานและสถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอผลลัพธ์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Angeli, C., & Valanides, N. (2009). Epistemological and methodological issues for the conceptualization, development, and assessment of ICT–TPCK: Advances in technological pedagogical content knowledge (TPCK). Computers & Education, 52(1), 154-168. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2008.07.006
Ball, D. L., Thames, M. H., & Phelps, G. (2008). Content knowledge for teaching: What makes it special. Journal of Teacher Education, 59(5), 389-407. http://dx.doi.org/10.1177/0022487108324554
Chai, C. S., Koh, J. H. L., & Tsai, C. C. (2013). A review of technological pedagogical content knowledge. Educational Technology & Society, 16(2), 31-51. https://www.jstor.org/stable/jeductechsoci.16.2.31
Depaepe, F., Verschaffel, L., & Kelchtermans, G. (2015). Pedagogical content knowledge: A systematic review of the way in which the concept has pervaded mathematics educational research. Teaching and Teacher Education, 49, 12-23. https://doi.org/10.1016/j.tate.2013.03.001
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2023). Multivariate data analysis (9th ed.). Cengage Learning.
Herring, M. C., Koehler, M. J., & Mishra, P. (Eds.). (2016). Handbook of technological pedagogical content knowledge (TPACK) for educators. Routledge.
Kleickmann, T., Richter, D., Kunter, M., Elsner, J., Besser, M., Krauss, S., & Baumert, J. (2013). Teachers' content knowledge and pedagogical content knowledge: The role of structural differences in teacher education. Journal of Teacher Education, 64(1), 90-106. https://doi.org/10.1177/0022487112460398
Koehler, M. J., Mishra, P., & Cain, W. (2020). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK)? Journal of Education, 193(3), 13-19. https://doi.org/10.1177/0022057420964796
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge? Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 9(1), 60-70. https://www.learntechlib.org/primary/p/29544/
Koh, J. H. L., & Chai, C. S. (2014). Teacher clusters and their perceptions of technological pedagogical content knowledge (TPACK) development through ICT lesson design. Computers & Education, 70, 222-232. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2013.08.017
Mishra, P., & Koehler, M. J. (2020). Technological pedagogical content knowledge (TPACK): Theoretical foundations and practical applications. Educational Technology Research and Development, 68(3), 543-552. https://doi.org/10.1080/15391523.2009.10782544
Mishra, P. (2019). Considering contextual knowledge: The TPACK framework and teacher knowledge. Educational Technology Research and Development, 67(1), 19-36. https://doi.org/10.1080/21532974.2019.1588 611
Mishra, P., & Koehler, M. J. (2013). A review of technological pedagogical content knowledge. Educational Technology & Society, 16(2), 31-51. https://www.researchgate.net/publication/290044779
Mishra, P., & Koehler, M. J. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for teacher knowledge. Teachers College Record, 108(6), 1017-1054. https://doi.org/10.1111/j.1467-9620.2006.00684.x
Mouza, C., Karchmer-Klein, R., Nandakumar, R., Ozden, S. Y., & Hu, L. (2014). Investigating the impact of an integrated approach to the development of preservice teachers' technological pedagogical content knowledge (TPACK). Computers & Education, 71, 206-221. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2013.09.020
Niess, M. L. (2005). Preparing teachers to teach science and mathematics with technology: Developing a technology pedagogical content knowledge. Teaching and Teacher Education, 21(5), 509-523. https://doi.org/10.1016/j.tate.2005.03.006
Teo, T. (2022). A model for understanding teachers’ intention to use technology for teaching and learning. Computers & Education, 177, 104372. http://dx.doi.org/10.1016/j.compedu.2011.06.008
Tondeur, J., Scherer, R., Siddiq, F., & Baran, E. (2017). A comprehensive investigation of TPACK within pre-service teachers' ICT profiles: Mind the gap! Australasian Journal of Educational Technology, 33(3), 46-60. https://www.researchgate.net/publication/318677637
Voogt, J., Fisser, P., Pareja Roblin, N., Tondeur, J., & van Braak, J. (2013). Technological pedagogical content knowledge–a review of the literature. Journal of Computer Assisted Learning, 29(2), 109-121. https://www.researchgate.net/publication/235733342