การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง เคมีไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ธนภรณ์ เจนจิรโฆษิต
ฐิติวรดา พลเยี่ยม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหากับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้การทดสอบทีกรณีกลุ่มเดียว (One sample t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.36/77.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 78.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 76.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุวรรณ จันทมัตตุการ, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และปริญญา ทองสอน. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาเคมี เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(4), 79–92.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปเปอเรชั่น.

โชติรส ฮับสมบูรณ์ และวันเพ็ญ ประทุมทอง. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค SSCS ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางเคมี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องปริมาณสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 19(1), 253-265.

ดนุลดา จามจุรี. (2564). การออกแบบการเรียนรู้ แนวคิดและกระบวนการ. น่ำกังการพิมพ์.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. ตักสิลาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2560). ความรู้พื้นฐานด้านการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

พัชรี ร่มพยอม วิชัยดิษฐ. (2558). ธรรมชาติของวิชาเคมี และการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ ธรรมชาติของวิชา. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 31(2). 187-199.

ไพศาล วรคำ. (2566). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 14) ประสานการพิมพ์.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2540). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.

โรงเรียนสารคามพิทยาคม. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2565. งานประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนสารคามพิทยาคม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.)การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์ : โครงการพัฒนาตำราและสื่อสำหรับหลักสูตรการผลิตและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (ม.ป.ป.)ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). บริษัท 3-คิว มีเดีย.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2565). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัจฉรียา โกมาลย์ และปาริชาติ ประเสริฐสังข์. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ SSCS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 15(1), 198-208.

เอกรัตน์ จันทร์หอม และจิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์. (ม.ป.ป.) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแบบจำลองไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 16(3), 199-210.

Edward L. Pizzini, Daniel P. Shepardson, & Sandra K. Abell. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science education. Science Education, 73(5), 523–534.

Sri Dyah Ayu Purwaningsih, & Ibnul Mubarok. (2021). The Implementation of The BSCS 5E Model Based on Multiple Representations in Ecosystem Materials on Problem Solving and Metacognitive Abilities. Journal of Biology Education. 10(1), 63-69.

Zulkarnain, Hutkemri Zulnaidi, Susda Heleni, & Muhammad Syafri. (2020). Effects of SSCS Teaching Model on Students' Mathematical Problem-Solving Ability and Self-Efficacy. International Journal of Instruction. 14(1), 465-488.