การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับสื่อประสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 2) ศึกษาเจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับสื่อประสม กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ แบบวัดเจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.35 คิดเป็นร้อยละ 68.97 วงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.04 คิดเป็นร้อยละ 80.26 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.12 คิดเป็นร้อยละ 87.44 ซึ่งนักเรียนทุกคนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ในวงจรปฏิบัติการที่ 3 2) เจตคติต่อรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีเจตคติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดตามลำดับ คือ ด้านความรู้สึกต่อคณิตศาสตร์ ด้านความพร้อมที่จะกระทำหรือเรียนคณิตศาสตร์ และด้านความตระหนักในคุณค่าหรือประโยชน์ของคณิตศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13, 4.09 และ4.04 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
.กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กลุ่มบริหารงานวิชาการโรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม. (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. โรงเรียนหลักเมืองมหาสารคาม.
จิตติมา ศีลประชาวงศ์. (2560). การออกแบบและพัฒนาสื่อประสม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ชัชวาล จิตรขุนทด และวิทา ทองโสม. (2563). การแก้ปัญหาการท่องแม่สูตรคูณโดยใช้เกมตารางตัวเลขคณิตศาสตร์เข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา การเรียนคณิตศาสตร์ โรงเรียนวัดสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 3(3), 68-77.
ณัฎฐา ศรีรอด และกรวิภา สรรพกิจจำนง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียนสื่อประสม ชุดเวลาพาเพลิน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 371-382.
ณัฐชา พลเยี่ยม. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสม. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 7(4), 58-69.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนศักดิ์ แสนสำราญ, พรสิน สุภวาลย์, และสมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ โดยการใช้สื่อประสม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 181-191.
ธัญญา แนวดง, คงรัฐ นวลแปง และคมสัน ตรีไพบูลย์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับเทคนิค Think - Pair - Share ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 29-41.
นราวดี จ้อยรุ่ง, นพมณี เชื้อวัชรินทร์ และเชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนสายวิทยาศาสตร์พิเศษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 75-88.
นิรมล บุญวาสและ นวลศรี ชำนาญกิจ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยวิธีการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(30), 157-170.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2550). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 2. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นท์.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ตักสิลาการพิมพ์.
รุ่งอรุณ ลียะวณิช. (2555). คู่มือครูคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์ด้วยเกม. แอคทีฟ พริ้นท์.
วรรณิสา ชัยวัน และนิเวศน์ คำรัตน์. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 3(1), 121-137.
วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 12). เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด 2545.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดประเมินผลคณิตศาสตร์. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับอัพเดท). กระทรวงศึกษาธิการ.
สุพิชญา สาขะจันทร์, มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล และ นิภาพร ชุติมันต์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับสื่อ eDLTV เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(3), 157-166.
สุวนันท์ ทองเจริญ, วรรณธิดา ยลวิลาศ, พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์, และวรรณพล
พิมพะสาลี. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่อง สถิติ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 20(88), 31-38.
สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2558). วิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
หริพล ธรรมมนารักษ์. (2558). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษายุคดิจิทัล (Innovation and Information Technology for Educational : In Digital Age). บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
หัตถยาภรณ์ ตุ่งยะ และรัตนา ศรีทัศน์. (2566). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์เรื่องการบวกและการลบเศษส่วน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGTร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสี่สหายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์). วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 6(4), 84-95.
อดิวัฒน์ เรือนรื่น. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเค็ด โดยใช้วิธีการสอนแบบ TGT. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
อุษา อินทร์นอก, ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์ และณัฏฐชัย จันทชุม. (2565). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 1-18.
Herganhahn, B.R. and and Olson, M. (1993). An introduction to theories of learning 4 thed. United States: Prentice Hall. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789 /3332 /1/60316324.pdf