แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 327 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยผู้วิจัยนำด้านที่มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง มากกว่า 0.30 มาสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์แนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและประเมินแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบประเมินด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพปัจจุบันบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางานเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติการสอน ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมและด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ตามลำดับ
2.แนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 แบ่งออกเป็น 6 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้กำหนดวิสัยทัศน์สถานศึกษาร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำแผนปฏิบัติราชการเพื่อยกระดับการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน 2) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้บูรณาการการบริหารงานตามภารกิจ 4 ด้าน กับการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน 3) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม โดยพัฒนาให้ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมให้สร้างนวัตกรรมในการบริหารอย่างมีส่วนร่วม 4) ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะทางการบริหาร สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพ สร้างบรรยากาศในสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 5) ด้านการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา โดยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้ใช้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนร่วมกับผู้เกี่ยวข้องกำหนดกลยุทธ์ เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6) ด้านการปฏิบัติการสอน โดยพัฒนาผู้บริหารให้ตระหนักในความสำคัญของการร่วมปฏิบัติการสอนร่วมกับครู สนับสนุนให้ผู้บริหารสถานศึกษาเข้าถึงครูและห้องเรียนมากขึ้น นำปัญหาและความต้องการของแต่ละห้องเรียนมากำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา ผลการประเมินแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางานของสถานศึกษา ในด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนผลการประเมินด้านความเป็นไปได้ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ด้านการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา และด้านปฏิบัติการสอนอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
ทรายแก้ว จันทร์แจ่มฟ้า. (2566). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมความมีใจรักและพลังขับเคลื่อน (Passion)ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม]. https://e-research.siam.edu/kb/role-of-school-administrators.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 15). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤภพ ขันทับไทย. (2565, 22 มีนาคม). การดำเนินการขับเคลื่อนข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 https://www.utdone.net/polngarn/3narupon/narupob.html.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
ประวิต เอราวรรณ์. (2564, 24 เมษายน). ความท้าทายในการบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน. สำนักงานคณะกรรมการ ก.ค.ศ. https://otepc.go.th/th/pa-articles/item/3378-pa-3.html.
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). มนตรี.
วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. (2548). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหาร. ไทยวัฒนาพานิช.
ศุภโชค ปิยะสันต์. (2565, 31 มีนาคม). ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสู่การรวมพลังพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาใหม่ภายใต้ ว PA. สำนักงานคณะกรรมการ ก.ค.ศ. https://otepc.go.th/th/pa-video/item/4024-pa-47.html?fbclid=IwAR3fKM9Ed1SJwNVzCnNCT9Cg7wDpTI63Vbbaj7CLon9vpNGj9z_Ui9zadDQ
สุกัญญา รอดระกำ. (2561). “บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0,” ใน สุวรรณี ปุญสิริ (บ.ก.) การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018. (575-579). มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). วี.พริ้นท์ (1991).
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564, 10 ตุลาคม). หนังสือแจ้งเวียนเลขที่ ศธ 0206.4/ว9 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. สำนักงานคณะกรรมการ ก.ค.ศ. https://otepc.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2565, 10 ตุลาคม). ว PA วิทยฐานะแบบใหม่:จุดเริ่มต้นปฏิรูปการศึกษาไทยให้ถูกทาง. สำนักงานคณะกรรมการ ก.ค.ศ. https://otepc.go.th/th/pa-video/item/4019-pa-42.html?fbclid=IwAR3z-k0QklHfd-elkYF0s8f32AdxJ0JWek6Ch0L-SeXomyRx7j55CBRtUo.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2566). การอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 https://www.kkzone1.go.th/2024/home.
Olaifa, Adeseko Sunday. (2024). Administrators’ Roles and School Effectiveness in Osun State Secondary Schools, Jurnal Imiah Pendidikan dan Pembelajaran. 8(1). p. 101-108.
Aris, Affandy Agusman. (2023). The Role of Management of Human Resources in Enhancing The Quality of Schools. Journal Of Social Science Research. 3(3), 11012-11023. https://j-innovative.org
Daing, Crisanto Alao and Mustapha, Leonila Cauan. (2023). School administrators' instructional leadership roles and teachers' performance and efficacy in Elementary level schools in the national capital region. Philippines, International Journal of Educational Policy Research and Review. 10 (1), 1-18. https://journalissues.org.
Ismaya, Bambang. (2023). Strategy for Leadership’ roles : How Principals of Successful Schools Improve Education Quality. Jurnal Manajemen Pendidikan Islam. 7(1), 247-259. https://ejournal.unuja.ac.id.
Yarbrough., el al. (2010, March 27). Program Evaluation Standards. The Joint committee on standards for educational evaluation. https://evaluationstandards.org/program.