รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยตามแนวคิดการเรียนรู้ในระหว่างการทำงานและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ)

Main Article Content

ธีระยุทธ กิตตินภวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) การศึกษาความต้องการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยตามแนวคิดการเรียนรู้ในระหว่างการทำงานและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน 40 คน และผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาวิเคราะห์ ระยะที่ 2) การพัฒนารูปแบบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ผู้บริหาร 2 คน และครูผู้สอน 40 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม และแบบตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3) การทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ครูผู้สอน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความรู้ด้านการวิจัย แบบประเมินทักษะการวิจัย และแบบประเมินเจตคติต่อการวิจัย และ ระยะที่ 4) การประเมินความพึงพอใจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยมีความต้องการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัย ได้แก่ 1) การกำหนดค่านิยมร่วมกัน 2) การวางเป้าหมายร่วมกัน 3) การสร้างความร่วมมือของครูในการทำงานร่วมกัน 4) การร่วมกันชี้แนะในการพัฒนางาน และ5) การร่วมกันสนทนาสะท้อนผลการปฏิบัติ รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยมีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ทฤษฎีและหลักการพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ระบบและกลไก 4) วิธีดำเนินงาน 5) การวัดและประเมินผล และ 6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า หลังการพัฒนา ครูมีความรู้ด้านการวิจัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.17 มีทักษะการวิจัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.06 และมีเจตคติต่อการวิจัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.75 โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัย โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กุลชาติ พันธุวรกุล และเมษา นวลศรี. (2564). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี, วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 11(3), 1-17. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/252218

ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกฤต อั้งน้อย และอนุชา กอนพ่วง. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 169-180. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/221050

นพพร โสวรรณะ. (2564). การนำแนวคิดการเรียนรู้ในระหว่างการทำงาน (Learning in the flow of work) มาใช้ในองค์กร. สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. https://www.khonatwork.com/

นวลละออ แสงสุข, นารินี แสงสุข, กรเอก กาญจนาโภคิน และสวรรยา แสงสุข. (2564). วิจัยการพัฒนาสมรรถนะด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของอาจารย์ประจำหลักสูตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 268-276. http://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/40053/DL_30507.pdf?t=637638494492254116.

พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ และชนิตา พิลาไชย. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 10(37), 293-303. https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID =1030

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ และยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทาวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา :การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(2), 306-323. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/242803

โรงเรียนเทศบาล 1 ตลาดบางลี่ (พานิชอุทิศ). (2564). รายงานการประเมินตนเอง. สังกัดเทศบาลเมืองสองพี่น้อง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

วชิราภรณ์ ขาวอ่อน และสาลินี มีเจริญ. (2565). แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเพิ่มคุณภาพของครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 10(1), 180-192. https://journal. bkkthon.ac.th/upload/doc/spit/56/files/Vol.10%20No.1-14.pdf

แสงเดือน คงนาวัง แสงดาว คงนาวัง และสำเร็จ คำโมง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยชุดฝึกทักษะการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ. 20(2), 139-148. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12170

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). รายงานประจำปี 2552 (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Abbas, R. (2024). The 7 Essential Steps to Cultivate a Culture of Learning at Your Business. Continu Inc. https://www.continu.com/blog/cultivate-a-culture-of-learning

Bersin, J. (2018). A New Paradigm for Corporate Training: Learning In The Flow of Work. Josh Bersin Company. https://joshbersin.com/2018/06/a-new-paradigm-for-corporate-training-learning-in-the-flow-of-work/

McLaughlin M. W. and Talbert J. E. (2006). Building school-based teacher learning communities: Professional strategies to improve student achievement. n.p.: Teachers College Press.

Miels, J. (2001). The Seven Faces of the Early Childhood Educator. www.earlychildhood. com.